ความเคลื่อนไหวของหลักสูตรการศึกษาขั้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

โดย พระมหาศรีวรรณ ทองดี  - 19 มิ.ย. 2547



ความเคลื่อนไหวของหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔


บทนำ
      ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่ง ที่ วก ๑๑๖๖ / ๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย ในปีการศึกษา ๒๕๔๕ และใช้ในโรงเรียนทั่วไปในปีการศึกษา ๒๕๔๖ นั้น เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เป็นหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดกรอบแนวทางกว้าง ๆ ให้สถานศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละสถานศึกษา โดยกำหนดโครงสร้างหลักสูตรเป็น ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น และเวลาเรียนในแต่ละช่วงชั้นเป็นปี
      ปีละประมาณ ๘๐๐ – ๑,๐๐๐       ชั่วโมงสำหรับช่วงชั้นที่ ๑ และ ๒
      ปีละประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๒๐๐       ชั่วโมงสำหรับช่วงชั้นที่ ๓
      ปีละไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐       ชั่วโมงสำหรับช่วงชั้นที่ ๔
      เพื่อให้สถานศึกษาไปกำหนดเวลาเรียน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษาในแต่ละกลุ่มสาระให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภารกิจ โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๗
      เมื่อสถานศึกษานำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื่นฐานไปจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและใช้หลักสูตรสถานศึกษา มาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๕ เป็นต้นมากระทรวงศึกษาธิการได้มีการได้มีการนิเทศติดตามผลการจัดทำและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง โรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนทั่วไปมาโดยตลอด ทั้งในด้านการบริหารจัดการหลักสูตรคุณภาพของผู้เรียน และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลต่อการใช้หลักสูตร ฯ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้บริหารการศึกษา คณะกรรมการการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจากภาครัฐและเอกชน นักกากรเมืองท้องถิ่น พระสงฆ์ ครู ผู้ปกครองและนักเรียน นอกจากนั้น ยังได้มีการประชุมเสวนาเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกภูมิภาคในรูปแบบต่างๆ


สรุปประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      จากการศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจากเอกสารรายงานการวิจัย และการประชุมสัมมนาต่างๆ สรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญๆ ที่ต้องเร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน ดังนี้
      ๑. ด้านการจัดสาระการเรียนรู้พื้นฐาน พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระการเรียนรู้พื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระแน่น/มากเกินไป เนื่องจากสถานศึกษายึดเอกสารสาระการเรียนรู้แกนกลางเป็นหลักในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ไม่ได้มีการนำไปเลือก / ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ/ บริบทของแต่ละสถานศึกษา นอกจากนั้นสถานศึกษาบางแห่ง กำหนดสาระการเรียนรู้ในแต่ละปีให้ผู้เรียนได้เรียนทุกสาระในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่งผลให้เนื้อหาสาระแน่น
      ๒. ด้านการจัดโครงสร้างเวลาเรียนสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สาระการเรียนรู้เพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า สถานศึกษาส่วนหนึ่ง กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ยังไม่สอดคล้องกับหลักการ/แนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ ๔ (ม.๔-๖) ที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้านที่ตอบสนองความสามารถ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ แต่จากผลการศึกษาวิเคราะห์การจัดโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษาต่างๆ พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่ จัดสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ทั้ง ๘ กลุ่มมากเกินไป ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ค่อนข้างน้อย
      ๓. ด้านมาตรฐานการเรียนรู้ พบว่า มาตรฐานการเรียนรู้ และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น บางมาตราฐานใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความซ้ำซ้อน ภาษาไม่ชัดเจนบางมาตรฐานกำหนดรายละเอียดมากเกินไป
      ๔. ด้านการกำหนดรหัสวิชา พบว่า สถานศึกษาแต่ละแห่งได้มีการกำหนดระบบรหัสวิชาสำหรับรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมตามหลักสูตรสถานศึกษาหลากหลายมีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกันไป ซึ่งทำให้ไม่สามารถสื่อสารกันได้ว่าระบบรหัสวิชาที่แต่สถานศึกษากำหนด เป็นรายวิชาพื้นฐาน หรือเพิ่มเติม โดยเฉพาะในช่วงชั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นช่วงชั้นที่มีความเชื่มโยงกับการสอบคัดเลือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา


การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
      กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีแผนการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ใน ๒ ลักษณะ ดังนี้
ลักษณะที่ ๑ การปรับเงื่อนไขข้อกำหนดในหลักสูตรแกนกลาง
      ๑. การจัดสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
      ๑) ช่วงชั้นที่ ๑ - ๓ (ป.๑ – ม.๓) แต่ละปีต้องจัดให้ครบทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องจัดให้เรียนครบทุกสาระแต่เมื่อเรียนจบช่วงชั้นผู้เรียนต้องเรียนครบทุกสาระ และมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่กำหนด
      ๒) ช่วงชั้นที่ ๔ (ม.๔ – ๖) แต่ละภาคเรียนไม่จำเป็นต้องจัดให้ครบทั้ง ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องจัดให้เรียนครบทุกสาระ แต่เมื่อเรียนจบช่วงชั้น ผู้เรียนต้องเรียนครบทุกสาระ และมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นและมีจำนวนหน่วยกิตเหมาะสมตามที่กำหนด
      ๒. การกำหนดจำนวนหน่วยกิตช่วงชั้นที่ ๔ (ม. ๔ - ๖)
      กำหนดจำนวนหน่วยกิตในช่วงชั้นที่ ๔ ไม่น้อยกว่า ๗๕ หน่วยกิตประกอบด้วย
๑ ) สาระพื้นฐาน 29 – 42 หน่วยกิต
      - กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ จำนวนกลุ่มละประมาณ ๔ - ๖ หน่วยกิต
      - กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลป์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวนกลุ่มละประมาณ ๓ - ๔ หน่วยกิต
๒) สาระเพิ่มเติม
      ให้เลือกเรียนตามถนัด ความสนใจ โดยกำหนดจำนวนหน่วยกิตตามความเหมาะสม
ลักษณะที่ ๒ การปรับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
      ปรับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระฯ และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ลดความซ้ำซ้อน ปรับความชัดเจนของภาษาตัดทอนรายละเอียดบางมาตราฐานที่มากเกินไป
การกำหนดระบบรายงานผลการเรียนกลาง
      ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก ๑๑๖๖/๒๕๔๔ เรื่อง การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ กระจายอำนาจให้โรงเรียนนำหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการไปดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน ความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม พร้อมกับกระจายอำนาจให้โรงเรียนสามารถทำการประเมิน ตัดสิน และกำหนดรูปแบบการรายงานผลการเรียนได้เอง ทำให้โรงเรียนมีระบบการรายงานผลการเรียนแตกต่างกันหลากหลายกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดระบบการรายงานผลการเรียนกลางขึ้น สำหรับใช้ในการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียน เพื่อการจัดสรรโอกาสในการศึกษาต่อตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๖ และเพื่อการคัดเลือกการแข่งขันอื่นใดที่จัดโดยหน่วยงานของทางราชการ เป็นระบบรายงานผลการเรียน ๘ ระดับ ดังนี้
๑. ระดับผลการเรียน ๔ หมายถึง ผลการเรียนดีเยี่ยม
๒. ระดับผลการเรียน ๓.๕ หมายถึง ผลการเรียนดีมาก
๓. ระดับผลการเรียน ๓ หมายถึง ผลการเรียนดี
๔. ระดับผลการเรียน ๒.๕ หมายถึง ผลการเรียนค่อนข้างดี
๕. ระดับผลการเรียน ๒ หมายถึง ผลการเรียนน่าพอใจ
๖. ระดับผลการเรียน ๑.๕ หมายถึง ผลการเรียนพอใช้
๗. ระดับผลการเรียน ๑ หมายถึง ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
๘. ระดับผลการเรียน ๐        หมายถึง ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ
      การเปรียนเทียบผลการเรียนของนักเรียนที่ใช้ระบบการรายงานผลการเรียนแตกต่างกัน จะต้องปรับผลการเรียนของนักเรียนที่มีรูปแบบอื่นให้อยู่ในรูปของระดับผลการเรียนกลางของกระทรวงศึกษาธิการก่อน จึงจะเปรียบเทียบกันได้
      ระบบการรายงานผลการเรียนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ จะเริ่มใช้ในการจัดสรรโอกาสศึกษาต่อในปีการศึกษา ๒๕๔๙ เป็นต้นไป สำหรับการจัดสรรโอกาสศึกษาต่อในปีการศึกษา ๒๕๔๘ ให้ใช้ระบบการรายงานผลการเรียนกลางเป็น ๕ ระดับ


การกำหนดรหัสวิชา
      ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๔๔๔ ได้กระจายอำนาจให้โรงเรียนนนำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื่นฐานซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยจัดทำรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สำหรับจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรายวิชาตามหลักสูตรสถานศึกษาเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถสื่อสารได้ตรงกันกระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้โรงเรียนทุกสังกัดที่จัดการศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดรหัสวิชาตามระบบรหัสวิชาที่กำหนด ดังนี้
ระบบรหัสวิชา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
๑. การกำหนดรหัสวิชา
      ระบบรหัสวิชาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเป็นระบบรหัสสำหรับบรายวิชาพื้นฐาน และเพิ่มเติม ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เป็นระบบที่ประกอบด้วย ตัวอักษรและตัวเลข จำนวน ๖ หลัก ดังนี้
๑.๑ หลักที่ ๑ เป็นรหัสตัวอักษรแสดงกลุ่มสาระการเรียนรู้ของรายวิชา คือ
      ท      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
      ค      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
      ว      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
      ส      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
      พ      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
      ศ      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
      ง      หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
            หมายถึง      รายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ใช้รหัสของแต่ละภาษาตามรายการอักษรรหัสภาษาต่างประเทศ
หมายเหตุ      ๑) รายการรหัสวิชาภาษาต่างประเทศ ที่จะนำไปใส่แทน  มีดังนี้
ข      หมายถึง            ภาษาเขมร            
จ      หมายถึง            ภาษาจีน
ซ      หมายถึง            ภาษารัสเซีย            
ญ      หมายถึง            ภาษาญี่ปุ่น
ต      หมายถึง            ภาษาอิตาเลียน            
น      หมายถึง            ภาษาลาติน
บ      หมายถึง            ภาษาบาลี            
ป      หมายถึง            ภาษาสเปน
ผ      หมายถึง            ภาษาฝรั่งเศศ            
ม      หมายถึง            ภาษามลายู
ย      หมายถึง            ภาษาเยอรมัน            
ร      หมายถึง            ภาษาอาหรับ
ล      หมายถึง            ภาษาลาว            
อ      หมายถึง            ภาษาอังกฤษ
ฮ      หมายถึง            ภาษาฮินดู            
๒) กรณีที่มีโรงเรียนใดจัดทำรายวิชาอื่นๆ นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ให้โรงเรียนทำเรื่องเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกำหนดรหัสภาษาต่างประเทศเพิ่มเติมและประกาศให้โรงเรียนทั่วประเทศได้รับทราบและใช้ให้ตรงกัน
      ๑.๒ หลักที่ ๒ เป็นรหัสตัวเลข แสดงช่วงชั้นของรายวิชา ซึ่งสะท้อนระดับความรู้และทักษะในรายวิชาที่กำหนดไว้ในแต่ละช่วงชั้น คือ
๑ หมายถึง รายวิชาสำหรับช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓
๒ หมายถึง รายวิชาสำหรับช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔– ๖
๓ หมายถึง รายวิชาสำหรับช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓
๔ หมายถึง รายวิชาสำหรับช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖
๑.๓ หลักที่ ๓ เป็นรหัสตัวเลข แสดงปีที่เรียนหรือปฏิบัติของรายวิชาซึ่งสะท้อนระดับความรู้และทักษะในรายวิชาที่กำหนดไว้ในแต่ละปี คือ
๑.๔ หลักที่ ๔ เป็นรหัสตัวเลขประเภทของรายวิชา คือ
๑      หมายถึง            รายวิชาพื้นฐาน
๒      หมายถึง            รายวิชาเพิ่มเติม
๑.๕ หลักที่ ๕ และหลักที่ ๖ เป็นรหัสตัวเลขแสดงลำดับของรายวิชาแต่ละประเภท ตั้งแต่ ๐๑ - ๙๙
๒. แนวปฏิบัติในการกำหนดรหัสวิชา
การนำระบบรหัสวิชาของกระทรวงศึกษาธิการไปกำหนดให้กับรายวิชาในหลักสูตรสถานศึกษา มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ พิจารณารายวิชาที่กำหนดรหัส ว่าเป็นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใด แล้วนำอักษรรหัสแสดงกลุ่มสาระการเรียนรู้ มากำหนดเป็นรหัสหลักที่ ๑ ดังนี้
กำหนดอักษร      ท      สำหรับรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กำหนดอักษร      ว      สำหรับรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กำหนดอักษร      ฝ      สำหรับรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาฝรั่งเศส
ขั้นที่ ๒ พิจารณารายวิชาที่กำหนดรหัส ว่าเป็นรายวิชาที่จัดขึ้นสำหรับช่วงใด แล้วนำตัวเลขรหัสแสดงช่วงชั้นมากำหนดเป็นรหัสหลักที่ ๒ ดังนี้
กำหนดเลข       ๑      สำหรับรายวิชาช่วงชั้นที่ ๑
กำหนดเลข       ๒      สำหรับรายวิชาช่วงชั้นที่ ๒
กำหนดเลข       ๓      สำหรับรายวิชาช่วงชั้นที่ ๓
กำหนดเลข       ๔      สำหรับรายวิชาช่วงชั้นที่ ๔
เมื่อนำไปรวมกับรหัสหลักที่ ๑ จะได้รหัส ๒ หลัก ดังนี้
ท ๑      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑
ว ๒      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๒
ฝ ๓ หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาฝรั่งเศสช่วงชั้นที่ ๓
ขั้นที่ ๓ พิจารณารายวิชาที่กำหนดรหัส ว่าเป็นรายวิชาที่จัดขึ้นเพื่อให้เรียนหรือปฏิบัติในปีใดของช่วงชั้น แล้วนำตัวเลขรหัสแสดงปีในช่วงชั้นมากำหนดเป็นรหัสหลักที่ ๓ ดังนี้
กำหนดเลข      ๐      สำหรับรายวิชาที่เรียนปีใดก็ได้ไม่กำหนดปีเรียน
กำหนดเลข      ๑      สำหรับรายวิชาที่เรียนในปีที่ ๑
กำหนดเลข      ๒      สำหรับรายวิชาที่เรียนในปีที่ ๒
กำหนดเลข      ๓      สำหรับรายวิชาที่เรียนในปีที่ ๓
เมื่อนำไปรวมกับรหัสหลักที่ ๑ และ ๒ แล้ว จะได้รหัส ๓ หลัก ดังนี้
ท ๑๐      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑ ไม่กำหนดปีเรียน
ว ๒๑      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๒ เรียนปีที่ ๑ (ป.๔)
ฝ ๑๓      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาฝรั่งเศส ช่วงชั้นที่ ๓ เรียน ปีที่ ๒ (ม.๒)
ขั้นที่ ๔ พิจารณารายวิชา ที่กำหนดรหัส ว่าเป็นรายวิชาประเภทใด แล้วนำตัวเลขรหัสแสดงประเภทของรายวิชา มากำหนดเป็นรหัสหลักที่ ๔ ดังนี้
      กำหนดเลข      ๑      สำหรับรายวิชาประเภทวิชาพื้นฐาน
      กำหนดเลข      ๒      สำหรับรายวิชาประเภทวิชาเพิ่มเติม
เมื่อนำไปรวมกับรหัสหลักที่ ๑,๒ และ ๓ แล้ว จะได้รหัส ๔ หลัก ดังนี้
ท ๑๐๑      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑ ไม่กำหนดปีเรียนประเภทรายวิชาพื้นฐาน
ว ๒๑๑      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๒ ปีที่ ๑ ประเภทราย วิชาพื้นฐาน (ป.๔)
ฝ ๓๒๒      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาฝรั่งเศส ช่วงชั้นที่ ๓ ปีที่ ๒ (ม.๒) ประเภทรายวิชาเพิ่มเติม
ขั้นที่ ๕ พิจารณารายวิชาที่กำหนดรหัส ว่าเป็นรายวิชาลำดับที่เท่าไรของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละประเภทของแต่ช่วงชั้น แล้วนำตัวเลขรหัสบอกลำดับมากำหนดเป็นรหัสหลักที่ ๕ - ๖ให้ตามลำดับ ดังนี้
กำหนดเลข      ๐๑      สำหรับรายวิชาลำดับที่ ๑
กำหนดเลข      ๐๒      สำหรับรายวิชาลำดับที่ ๒
กำหนดเลข      ๐๓      สำหรับรายวิชาลำดับที่ ๓
กำหนดเลข      ๐๔      สำหรับรายวิชาลำดับที่ ๔
เมื่อนำไปรวมกับรหัสหลักที่ ๑, ๒, ๓และ ๔ แล้ว จะได้รหัส ๓๖ หลัก ดังนี้
ท ๑๐๑๐๑      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ ๑ ไม่จำกัดปีเรียนประเภทรายวิชาพื้นฐาน ลำดับที่ ๑
ว ๒๑๑๐๓      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ ๒ ปีที่ ๑ (ป.๔)ประเภทรายวิชาพื้นฐาน ลำดับที่ ๓
ฝ ๓๒๒๐๒      หมายถึง      รายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศภาษาฝรั่งเศส ช่วงชั้นที่ ๓ เรียนปีที่ ๒ (ม.๒) ประเภทรายวิชาเพิ่มเติม ลำดับที่ ๒
ขั้นที่ ๖ นำชื่อรายวิชาที่กำหนดรหัส พร้อมกับจำนวนชั่วโมงหรือหน่วยกิตรวมเข้ากับรหัสที่กำหนดให้ จะได้รายวิชาที่แสดงส่วนประกอบที่สมบูรณ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างการกำหนดชื่อรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ท ๒๓๑๐๑      ภาษาไทย      ๑๖๐ ชั่วโมง
หมายถึง รายวิชาภาษาไทย สำหรับเรียนในช่วงชั้นที่ ๒ ชั้นปีที่ ๓ (ป.๖) เป็นรายวิชาประเภทวิชาพื้นฐาน ลำดับที่ ๑ เวลาเรียน ๑๖๐ ชั่วโมงต่อปี
ว ๒๑๑๐๓      วิทยาศาสตร์      ๑๒๐ ชั่วโมง
หมายถึง       รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับเรียนในช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นปีที่ ๑ (ม.๑) เป็นรายวิชา ประเภทรายวิชาพื้นฐาน ลำดับที่ ๓ เวลาเรียน ๑๒๐ ชั่วโมงต่อปี
ฝ ๓๒๒๐๒      ภาษาอังกฤษสร้างสรรค์      ๐.๕ หน่วยกิต
หมายถึง       รายวิชาภาษาอังกฤษสร้างสรรค์ สำหรับเรียนในช่วงชั้นที่ ๔ ชั้นปีที่ ๒ (ม.๕) เป็นรายวิชาประเภทวิชาเพิ่มเติม ลำดับที่ ๕ มีค่า ๐.๕ หน่วยกิต เวลาเรียน ๒๐ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน


จากการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ