ประวัติเมืองลำปาง

โดย วุฒิการ เมธานันท์  - 12 พ.ย. 2548


ประวัติเมืองลำปาง



เมืองลำปางหรือเวียงละกอน


         จังหวัดลำปางมีประวัติและตำนาน ซึ่งเมืองอันเก่าแก่หลายชื่อ หลายยุค แต่ละตำนานมีประวัติความเป็นมา ดังว่า...
จังหวัดลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ มีตำนานเล่าว่าพระนางจามเทวีผู้ครองเมืองหริภูญชัย (ลำพูน) มีโอรสแฝด 2 องค์ คือ มหายส (มหาตยศ) และอินทวร (อนันตยศ) เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย พระนางจามเทวีก็ยกราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศองค์พี่ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนองค์น้องคือเจ้าอนันตยศ พระนางได้ปรึกษาฤาษีวาสุเทพให้แนะนำให้ไปสร้างเมืองใหม่ฤาษีวาสุเทพให้เจ้าอนันตยศไปกราบฤาษีสุพรหมซึ่งอาศัยอยู่ที่ศุภบรรพตริมฝั่งแม่น้ำวังขอให้ช่วยสร้างเมืองให้ โดยให้เอาพรานเขลางค์ซึ่งอาศัยอยู่ที่ดอยสุบรรพต (ทางด้านตะวันออกของนครหริภุญชัย) ฤาษีสุพรหมจึงเนรมิตเมืองขึ้นเมืองหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำวังกะนที (แม่น้ำวัง) แล้วมอบให้เจ้าอนันตยศขึ้นครอง เจ้าอนันตยศให้ชื่อเมืองว่า “เขลางค์นคร” ตามชื่อของพรานเขลางค์ ผู้นำพระองค์มาพบพระสุพรหมฤาษี ต่อมาเมื่อพระนางจามเทวี เสด็จกลับเมืองละโว้ได้ผ่านมายังเมือง เขลางค์ เจ้าอนันตยศทูลขอร้องให้พระมารดาประทับอยู่ที่เมืองเขลางค์ พระสุพรหมฤาษีจึงเนรมิตเมือง อีกเมืองนึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเขลางค์นครแล้วมอบให้เจ้าอนันตยศขึ้นครอง เมืองใหม่นี้ชื่อว่า “อาลัมพางนคร” ซึ่งเป็นนครลำปางปัจจุบัน


ตำนาน นิทาน และเรื่องเล่าของจังหวัด
      เรื่องวัดพระธาตุลำปางหลวง มีตำนานกล่าวว่าในสมัยพุทธกาลสมเด็จพระสมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอรหัน 3 องค์ กับพระอานนท์เถระรวมอยู่ด้วยเป็น 4 พระองค์ นอกจากนี้ก็มีพระเจ้าปเสนทิตามเสด็จมาโปรดบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย เมื่อเสด็จมาถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ ดอยม่อนน้อย (เขาเตี้ย) มีชาวบ้านชื่อลั๊วะอ้ายกอน มีความเลื่อมใสนำเอานึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง (ไม้ข้างหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ 4 ลูก มาน้อมถวายพระพุทธองค์รับเอาแล้วจึงส่งมอบกระบอกน้ำผึ้งนั้นแก่พระอานนท์เถระเจ้าไปกองลงบาตร แล้วพระองค์จึงได้ฉันน้ำเสร็จแล้วพระองค์จึงทิ้งกระบอกไม้นั้นตกไปทางทิศเหนือ พระองค์จึงพยากรณ์ว่า สถานที่นี่จะมีผู้มาสร้างเมืองที่มี ชื่อว่า “ลัมภะกัปปะนคร” แล้วต่อจากนั้นพระองค์ก็ยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นลูบพระเศียรได้พระเกศา 1 เส้นติดพระหัตถ์มา แล้วพระองค์มอบลั๊วอ้ายกอน ลั๊วอ้ายก้อนรับพระเกศาด้วยความโสมนัสแล้วจึงนำลงบรรจุในผอบทองคำ แล้วขุดหลุมกว้าง 5 วา ลึก 5 วา อัญเชิญผอบเกศาลงไปประดิษฐานท่ามกลางหลุมนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสพระยากรณ์ว่า เมื่อตถาคตปรินิพานแล้ว 218 ปี จักมีพระอรหันต์ 2 องค์นำพระอิฐลำคอข้างหน้าหลัง และพระนลาตข้างขวาของตถาคตมาบรรจุไว้ที่นี้อีก เจดีย์นี้จักปรากฏเป็นเจดีย์ทองคำชื่อว่า “ลัมภะกัปปะ” แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสร็จจาริกไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ต่อไป ต่อมาเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว 218 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งชมพูทวีปได้มีศรัทธาสร้างเจดีเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 84,000 องค์ และพระวิหาร 84,000 หลังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้พระเถระเจ้านำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ พระกุมารกัสสปะเถระเจ้ากับ พระเมฆิยะเถระเจ้าได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ลัมภะกับปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง) และมีเรื่องเล่าว่ามีพระเถระชาวเชียงใหม่ 2 องค์ได้จาริกไปอยุธยาเพื่อนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุที่เมืองอยุธยา พระเถระเจ้าเมืองอยุธยาบอกแก่พระเถระชาวเชียงใหม่ว่าทางเหนือมี มากกว่าและที่มีมากคือที่เมืองหริภุญชัยและลัมภะกัปนคร พระเถระชาวเชียงใหม่กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่มีในหริภุญชัยนั้นตูข้ารู้อยู่ ส่วนที่มีที่ลัมภะกัปปะนครนั้น ยังไม่รู้มาก่อนเลย



         บ่อน้ำโบราณ อยู่ห่างจากวัดพระธาตุลำปางหลวงประมาณ 50 วาเศษ อยู่กลางหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่าบ่อน้ำเลี้ยง ตามตำนานพระธาตุลำปางหลวงว่าเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จกลับจากราชการ ทัพเมืองแม่สลิดเดินทางผ่านได้มานมัสการพระบรมธาตุ มีชาวเมืองมาร้องทุกข์ว่าสถานที่นี้ขาดแคลนน้ำบริโภค พระนางจึงอธิษฐานเสี่ยงด้วยบุญบารมีของพระนางเมื่อพระนางกลับจากวัดพระธาตุลำปางไปพักที่เมืองรมณีย์ (เมืองตาลระหว่างดอยขุนตาล) วันต่อมาจึงมีคนไปพบน้ำพุขึ้น และน้ำนี้ได้มีตลอดมาปัจจุบันได้บูรณะเป็นบ่อลึก 5 วา กว้าง 5 วา


        เรื่องพระแก้วดอนเต้ามีตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้วพันปี ณ เมือง กุกกุฎนคร (ลำปาง) มีพระเถระองค์หนึ่งมีศรัทธาแก่กล้าในการบำรุงพระพุทธศาสนา และใคร่จะสร้าง พระพุทธรูปขึ้นสักองค์เพื่อให้ชาวเมืองสักการะบูชาแต่ยังหาวัตถุเพื่อนำมาสร้างไม่ได้ เมื่อพญานาคซึ่งอยู่ในแม่วังกะนที (แม่น้ำวัง) ได้ทราบก็นำแก้วมรกตลูกหนึ่งลองใส่ไว้ในผลหมากเต้า (แตงโม) ที่นางสุชาดาปลูก นางสุชาดาเก็บหมากเต้านั้นไปถวายพระเถระ เมื่อพระเถระผ่าหมากเต้าก็ได้พบมรกตลูกใหญ่ ก็มีความยินดีได้นำเครื่องมือชนิดต่างๆ มาสลักแก้วมรกตนั้นให้เป็นพระพุทธรูป แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะสลักไม่เข้า มีชายแก่ผู้หนึ่งมาอาสาสลักให้ พระเถระจึงลุกไปเพื่อจะหยิบเครื่องมือให้ แต่เมื่อกลับมาก็ไม่เห็นชายแก่ผู้นั้นพบแต่แก้วมรกตลูกนั้นซึ่งกลายเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามยิ่ง ความเรื่องนี้ทราบไปถึงชาวเมืองก็พากันมานมัสการพระแก้วมรกตและอัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระแก้วดอนเต้า



ลำปาง
ดวงตราประจำจังหวัด รูปไก่อยู่ในมณฑป
คำขวัญประจำจังหวัด      ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก
พื้นที่      12,533 ตารางกิโลเมตร
ประชากร       776,251 คน (พ.ศ. 2536 )
เขตการปกครอง      มี 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองลำปาง อ.เกาะคา อ.เถิน อ.แจ้ห่ม อ.ห้างฉัตร อ.แม่ทะ อ.วังเหนือ อ.แม่เมาะ อ.เสริมงาม อ.งาว อ.สบปราบ อ.แม่พริก อ.เมืองปาน
อาณาเขต
ทิศเหนือ            จด จังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก            จด จังหวัดน่านและแพร่
ทิศใต้            จด จังหวัดสุโขทัยและตาก
ทิศตะวันตก            จด จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ลักษณะภูมิศาสตร์
       ภูมิประเทศตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ลุ่ม ตอนเหนือเป็นที่ดอน มีป่าและภูเขา ภูเขาสูงที่สุดชื่อ ดอยลังกา สูง 1,986 เมตร และมีแม่น้ำวังไหลผ่าน
ระยะทาง
      จากกรุงเทพฯถึงลำปาง 650 กิโลเมตร (ทางรถไฟ) หรือ 599 กิโลเมตร ( ทางรถยนต์)

      
<เขียว>ประวัติจังหวัดลำปาง
        การที่พระเถระและนางสุชาดามีส่วนร่วมกันในการสร้างแก้วมรกตทำให้ชาวเมืองเคารพยกย่องบุคคลทั้งสองมาก จึงมีผู้อิจฉาและนำความไปทูลยุยงเจ้าเมืองลำปางว่าพระเถระและนางสุชาดาเป็นชู้กัน เจ้าเมืองลำปางไม่ทันสอบสวนก็สั่งให้นำนางสุชาดาไปฆ่าที่ริมฝั่งแม่น้ำวัง ก่อนตายนางสุชาดาอธิษฐานว่าถ้านางไม่ผิดขอให้โลหิตพุ่งขึ้นฟ้า อย่าให้ไหลลงดินเลยแม้แต่หยดเดียว หากผิดจริงขอให้เลือดตกดิน และปรากฎว่าเมื่อเพชฌฆาตลงดาบนางสุชาดานั้นเลือดของนางสุชาดาก็พุ่งขึ้นฟ้าหารไปหมดมิได้ตกถึงพื้นดินเลย เจ้าเมืองเมื่อรู้ข่าวก็เสียใจจนสิ้นชีพ ส่วนพระเถระเมื่อทราบข่าวนางสุชาดาถูกประหาร ก็รีบอัญเชิญพระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) หนีภัยไปพำนักที่วัด ลัมภะกัปปะ คือวัดพระธาตุลำปางหลวง พระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) จึงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้มาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องชื่อเมืองลำปาง     มีเรื่องเล่าว่าในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จออกโปรดสัตว์ ทรงประทับแรมที่เมืองลำปาง พระอินทร์เกรงว่าชาวเมืองจะตื่นใส่บาตรพระพุทธเจ้าไม่ทันจึงได้เนรมิตไก่ขาวให้มาขันปลุกชาวบ้านชาวเมืองให้ตื่นขึ้นมาใส่บาตรพระพุทธเจ้าได้ทันเมืองลำปางจึงมีชื่อว่า กุกกุฏนคร แปลว่าเมืองไก่
      เรื่องพระยาสุรวะฤาไชยสงคราม (เจ้าทิพย์ช้าง) มีประวัติเล่าว่าระหว่างปี พ.ศ. 2272-2275 บ้านเมืองในล้านนาไม่ได้เป็นปกติ เพราะพม่าได้ยกทัพมาตีเชียงใหม่และหัวเมืองต่างๆ และได้มาตีเมืองลำปางด้วย หนานทิพย์ช้างนายบ้านคอกวัวเป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม กล้าหาญ และมีฝีมือในการใช้ปืนและธนู เคยเป็นหมอคล้องช้างป่าจนหลายคนทั้งหลายตั้งชื่อให้ว่า ทิพย์ช้าง ชาวเมืองจึงขอให้หนานทิพย์ช้างเป็นหัวหน้ากู้เมืองลำปาง หนานทิพย์ช้างได้ลอดคลานเข้าไปในท้องร่องกว้างเพียงหนึ่งศอก เข้าไปในวัดพระธาตุลำปางหลวงที่กองทัพข้าศึกตั้งอยู่ และได้ใช้ปืนยิงแม่ทัพสิ้นชีวิต ลูกกระสุนยังทะลุไปถูกรั้วทองเหลืองของพระเจดีย์ซึ่งยังมีรอยให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ แล้วทิพช้างก็เล็ดลอดออกมาตามร่องน้ำนั้นและนำทัพลำปางโจมตีข้าศึกแตกพ่ายไป ชาวเมืองจึงพร้อมใจกันสถาปนาหนานทิพย์ช้าง ( เจ้าทิพย์เทพบุญเรือน) เป็นเจ้าผู้ครองลำปางมีชื่อว่า พระยาสุรวะฤาไชยสงคราม
งานเทศกาลประจำปี
งานทรงน้ำพระบรมธาตุวัดพระธาตุลำปางหลวง วันปากปี 16 เมษายน