สัญลักษณ์เมืองลำปาง

โดย สมศรี คำภีระแปง  - 12 พ.ย. 2548




      สัญลักษณ์ประจำจังหวัดลำปางเป็นรูปไก่ขาวอยู่ในมณฑปพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งหมายถึง ไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑป เป็นสัญลักษณ์ที่มีมาแต่สมัยเมือง “กุกกุฎนคร” (ตำนานเมืองลำปาง) คำว่า “กุกกุฎ” แปลว่า “ไก่” เครื่องหมายไก่ขาวคู่กับดวงตราแผ่นดินในสมัยศาลากลางหลังแรก ในปี พ.ศ.2452



        ตำนานของไก่ขาว มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จออกมาโปรดสัตว์ ทรงประทับแรมที่เมืองลำปาง พระอินทร์ได้ทราบข่าวจึงแปลงกายเป็น “ไก่ขาว” เพื่อคอยขันปลุกพระพุทธเจ้าให้ตื่นขึ้นมาปฏิบัติภารกิจ จะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า และเกรงว่าชาวบ้านชาวเมืองจะตื่นใส่บาตรพระพุทธเจ้าไม่ทัน จึงเนรมิตตนเองเป็นไก่ขาว คอยขันปลุกชาวบ้านชาวเมืองให้รีบหุงหาอาหารเพื่อใส่บาตรและให้ ทราบว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องตื่น เพื่อทำงานตามหน้าที่ ที่ตนเองรับผิดชอบ





ถ่านหินลือชา ลำปางมีถ่านหินลิกไนต์ที่อำเภอแม่เมาะ เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถ่านหืนลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงและพลังงานที่สำคัญ ที่ถูกนำมาแปรเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าส่งไปใช้ทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


รถม้าลือลั่น รถม้าเริ่มมีใช้ในจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ พ.ศ.2458 โดยนำมาจากกรุงเทพมหานคร เดิมใช้ในหมู่ข้าราชการผู้ใหญ่ ต่อมาได้นำมาใช้บริการเป็นพาหนะ รับ – ส่งผู้คน พ่อค้า แม่ค้าในตลาด ต่อมาได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ผู้คนนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดจึงนิยมนั่ง จังหวัดลำปางจึงได้ส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปาง



เครื่องปั้นลือนาม ลำปางเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญในภาคเหนือเพราะมีแหล่งดินขาวที่สำคัญและมีคุณภาพดี ที่อำเภอแจ้ห่ม ปัจจุบันมีโรงงานเครื่องปั้นดินเผาในหลานรูปแบบและส่งไปขายทั่งในประเทศและประเทศข้างเคียง



งามพระธาตุลือไกล วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า ของเจ้าพระยาสุลวลือ (หนานทิพย์ช้าง) องค์เจดีย์วัดพระธาตุลำปางหลวงมีรูปทรงที่สวยงามแบบศิลปะล้านนา มีอายุกว่า 1,000 ปี



ฝึกช้างใช้ลือโลก ลำปางเป็นจังหวัดเดียวในโลก โดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกลูกช้างขึ้นเพื่อนำลูกช้างมาฝึกสอนการทำงานและชักลาก