ภาษาถิ่น

โดย เกษสุดา ขัติวงศ์  - 26 พ.ย. 2548


ภาษาถิ่น (DIALECT)

ภาษาถิ่น (DIALECT)


โดย: นางเกษสุดา ขัติวงศ์
ภาษาถิ่นเหนือเป็นภาษาหนึ่งของภาษาตระกูลไทย (Thai) ใช้พูด กันในชีวิตประจำวันที่แตกต่างกันไป ถ้าหากถิ่นใดมีลักษณะทั่วไป หางเสียง คำและความหมายเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันก็จัดอยู่ในภาษาถิ่นนั้น ๆ เหมือนกับเป็นภาษามาตรฐานของท้องถิ่นใน 8จังหวัด ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้พูด ภาษาถิ่นเหนือในชุมชนอื่น ๆ อีก เช่น ที่อำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ อำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ตำบลบ้านคูบัว จ.ราชบุรี และที่อำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นต้น ทั้งนี้เพราะบรรพบุรุษของคนเหล่านี้อพยพมาจากภาคเหนือนั่นเอง แต่เดิมเผ่าชนคนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนั้นมีชื่อว่า "ยวน" หรือ "ไทยยวน" และเรียกภาษาที่พูดว่า "ภาษาไทยยวน" ซึ่งชื่อนี้ยังคงอยู่กับ คนไทยยวนที่อพยพมาอยู่ในต่างถิ่น เช่นที่ อำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่ยังคงเรียกตัวเองว่า "ยวน" แต่สำหรับคนไทยในภาคเหนือปัจจุบันนี้ เรียกตัวเองว่า "คนเมือง" และเรียกภาษาของตนว่า "คำเมือง" หรือออกเสียงว่า "กำเมือง"
คำเมือง หรือ กำเมือง ถ้าเป็นคนยองซึ่งเป็นชนอีกกลุ่มทางภาคเหนือ ก็จะอ่านสั้นๆห้วนๆว่า กำเมิง แต่ทุกคำ ไม่ว่าจะ คำเมือง, กำเมือง หรือ กำเมิง ก็หมายถึง ภาษาพูดของคนทางภาคเหนือ จะว่าเป็นภาษาถิ่นก็คงจะได้ คำเมืองเป็นภาษาที่ได้ชื่อว่าเป็นภาษาพูดที่น่าฟังเป็นที่สุด เพราะจะพูดช้าจนออกจะดูเนิบนาบ น่ารำคาญ ซึ่งตรงข้ามกับภาษาทางใต้อย่างสิ้นเชิง คำเมือง ก็จะแตกต่างกันออกไปตามพื้นที่อีกเช่นกัน สำเนียงจะต่างกัน อย่างคำๆเดียว บางพื้นที่อาจจะออกเสียงสั้น บางพื้นที่อาจจะลากเสียงยาว แต่ถ้าเป็นคนเหนือแล้วจะรู้ว่าเป็นคำเดียวกัน แต่ก็มีบางคำนะที่บางพื้นที่ใช้ แต่ในขณะที่อีกพื้นที่ไม่ได้ใช้ ทำไมข้าเจ้าจึงเขียนเรื่องนี้ ก็เพราะอยากจะเผยแพร่ภาษาถิ่นให้คนอื่นๆได้ทราบและให้คนในท้องถิ่นรักภาษาถิ่นของตนเอง ในที่มีคำเมืองของถิ่นลำปางคำแรกที่ข้าเจ้าอยากเสนอให้อ่าน ก่อนที่จะหมดฤดูฝนได้อ่านกันเล่นๆก็คงจะเป็นคำที่กลมกลืนกับบรรยากาศยามฟ้าฝนอย่างนี้คือคำว่าแชะ (ออกเสียง แจ๊ะ ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ถ้าจะแปลเป็นคำไทยหรือภาษากลางก็หมายถึงเฉอะแฉะเปรอะ มักใช้กับพื้นดินหรือสถานที่ มักพบว่าใช้ร่วมกับคำว่า แมะ เป็นแชะแมะ หรือแชะแชะแมะแมะ ซึ่งช่วยเน้นย้ำให้เห็นภาพข องความเฉอะแฉะได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังบทกลอน.......
ในยามฝนตก คนช่างเป็นหวัด พากันไปวัด วันออกพรรษาถนนหนทางเปนเปอะนักหนา จะไปจะมา หนทางแชะแมะ
นอกจากนี้ คำว่าแชะ ยังใช้อธิบายอาการผิดปกที่เกิดกับ อวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น ปากแชะ ซึ่งอาจเกิดจากโรคปากนกกระจอก หรือตาแชะ ซึ่งเกิดจากโรคตาแดงหรือตาอักเสบ
กิ๋น อ่านว่า กิ๋น ออกเสียงก็ กิ๋น คำนี้น่าจะต้องใช้บ่อย เพราะกิ๋นกันบ่อย กิ๋น เป็น คำกิริยา (verb) แปลเป็นภาษากลางก็คือ กิน นั่นเอง คงไม่ต้องแปลอีกมั๊งว่ากินแปลว่าอะไร เอาหน่อยก็ได้เผื่อบางคนไม่รู้จริงๆ กิน มีความหมายเดียวกับคำว่า eat แค่นี้คงพอจะเข้าใจนะ กิ๋นในภาษาคำเมือง ก็ใช้ไม่แตกต่างกันกับภาษากลาง เพียงแต่ออกเสียงต่างออกไปเท่านั้นเอง คำเมืองที่มีความหมายคล้ายๆกับคำว่า กิ๋น ก็มีคำว่า ฮากไก้, ฮากเลือด ทั้ง ๒ คำแปลได้ว่ากินเหมือนกัน แต่อาจจะใช้เฉพาะบางพื้นที่ ยกตัวอย่าง ประโยคที่มีคำที่กล่าวมา อย่างคำว่า กิ๋น เช่น "วันนี้กินข้าวกับอะหยัง?" เป็นการถามว่า "วันนี้ทานข้าวกับอะไร?" หรืออย่างคำว่าฮากไก้ ก็เช่น "วันนี้ฮากไก้ลาบมา อิ่มขนาด" หมายความว่า "วันนี้กินลาบมาอิ่มมากๆ" ถ้าคำว่าฮากเลือดก็ "ไปเซาะฮากเลือดอะหยังดีหะ" แปลว่า "ไปหาอะไรทานดี"
ตั๋ง อ่านว่าตั๋ง ตั๋ง เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึงติดหนึบ,เหนียว ตรงกับภาษาไทยกลางว่า ตังในวิถีล้านนา มักพบคำว่าตั๋ง ในการอธิบายลักษณะที่เหนียวหนึบ ติดแน่น เช่น น้ำลายเป๋นตั๋งเป๋นเหนียว ที่บางคนอาจคุ้นหูจากเพลง ผักกาดจอ ของคุณจรัล มโนเพ็ชร นอกจากนี้ยังมีสำนวนที่คนเมืองคุ้นเคยกันดี นั่นคือ ก้นตั๋ง ซึ่งหมายถึงนั่งนานเหมือนก้นติดตังจนลุกไม่ขึ้น
คนเมืองมีคำเปรียบเทียบคนที่มาเยี่ยมเยียนกันแล้วนั่งนาน ๆ โดยเฉพาะหนุ่มที่ไปแอ่วสาวแล้วไม่ยอมกลับง่าย ๆ ว่า กิ๋น แกงขะหนุน (แกงขนุน) ก้นตั๋ง อาจเนื่องจากขนุนเป็นพืชที่มียางมาก จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับคนที่ไปไหนแล้วชอบนั่งนาน ๆ เจ้าของบ้านจึงแซวเล่น หรือมีเจตนาเตือนให้แขกทราบว่า ควรกลับได้แล้ว เป็นต้น
ปริศนาคำทาย ของคนเมืองลำปางที่สนุก ความว่า “หอแต๊บแป๊บ โจ้งเข้าจ๊อก ห่มย้อกๆ เป็นน้ำแชะแฟะ” ( ห่อเล็กๆโยนเข้ามุม เขย่าออกมาเป็นน้ำเลอะเทอะ )............คำตอบคือหมาก..เน้อเจ้า
เรามาสนุกและศึกษาเรียนรู้ภาษาถิ่นลำปางกับบทเพลงซึ่งมีความไพเราะซึ่งบ่งบอกถึงภาษาถิ่นลำปางเกือบทุกๆงานจะใช้บทเพลงนี้ในงานแสดงบนเวทีใหญ่ของจังหวัดลำปางตลอดจนทุกๆอำเภอในจังหวัดลำปาง ชื่อเพลง “ร่ำเปิงลำปาง”
                               
บทร้อง-ทำนอง : อ.ศักดิ์ รัตนชัย ขับร้อง : กฤษฎากร ดวงรินทร์ (น้องนาย)

ยงๆๆ ต๋าวันส่งลำแสงแจ้งแล้ว
หันใสดังแก้วที่ปล๋ายธาตุเจ้าลำปางหลวง
ยกมือไหว้สาตึงบุปผาดอกดวง เมื่อเหมยยัวยวง
ก็หลัวะหลิ่งใบลงดิน
นันๆๆ เสียงนันเดือดซื้อขายกาดเจ๊า (เช้า)
เพียดซ้าข้องเข้าตึงก๋วยแต๋งเต้าบุงจิ้น(เนื้อ)
แถวครัวผักสวนป้าวต๋าลทังมวล กล้วยสัมหมากปิน
สัตว์น้ำสัตว์ดินตึงแมงตี้บินไปมา
เสียงล้อเสียงเกวี๋ยนงัวต่างตึงเสียงผ่านลาง
ฮอกเด็งตี้เตียว ตึงเสียงคนเอ็กคนเอี๋ยวไปซื่อไปเลี้ยวนี่ง
จ๊างต่างม้าครัวแพะครัวป่าครัวปงครัวโต้งครัวโฮงตี้แป๋งแต่งดา
ปี๋ใหม่เข้า-ออกวัสสา และ ป๋าเวณี ยี่เป็ง
ป๊ะๆๆ หอกล๋องพระตี๋ป๊ะตึงตึ้งสะล้อซอซึง
จุมกล๋องถึ่งทึงติ๋ดตึงโหน่งเหน้ง
หนัวเจิงก็ฟ้อนกั๋นผีไผผีมันผีมดซอนเม็ง
ง่อมใจ๋ฮ่ำเพลงก็กึดร๋ำเปิงลำปาง
                        สะล้อซอซึง            

      
            
เรื่องอ้ายเปี้ยกับอ้ายต๋า
เมิ้น......มาแล้วหนา มีป่จายอยู่สองคนคนนึ่งจื่อ “อ้ายเปี้ย”
อ้ายปี้ยนี้หนาขาบ่ดีเตียวบ่ได้ แต่ต๋าดีผ่หัน ส่วนแหมคนจื้อ“อ้ายคำ”อ้ายคำนี้หนาเป๋น
คนต๋าบอดผ่บ่หัน แต่ขาดีเตียวได้ สองคนนี้จะฮักกั๋นจ่วยเหลือกั๋นไปไหนก่จะไปตวยกั๋น โดยอ้ายคำจะฮื้ออ้ายเปี้ยป๊อกคอผ่ตางฮื้อ ส่วนตั๋วเก่าก่จะเป๋นคนเตียวจะยะจะอี้ตึงวันเลย วันนึ่งสองคนนี้ก่ไปตวยกันแหม ต๋าของอ้ายเปี้ยก่ไปหันเผียอันนึ่งก่จวนอ้ายต๋าเอา
“ต๋า ต๋า เฮาปะเผียนี้อันนึ่งเอาก่”“เอาก่า”อ้ายคำตอบ สองคนกะจ่วยกั๋นเอาเผียเปอะ
หลังอ้ายเปี้ยไว้แล้วปากั๋นเตียวต่อไป อ้ายเปี้ยก่ไปหันใส่เต่าตั๋วนึ่งเตียวมาก่ถามแหมว่า“ต๋า ต๋าเฮาปะเต่าเตียวมานี้ตั่วจะเอาก่” “เอาก่า”อ้ายคำตอบ ละกะจ่วยกั๋นเอาเต่าใส่ถุงสะปายของอ้ายเปี้ยไป แล้วสองคนกะปากั๋นเตียวต่อไปแหม กำนี้ต๋าของอ้ายเปี้ยก่ไปหันใส่ขี้จ๋างอยู่ก๋องนึ่ง ก่ถามอ้ายคำแหมว่า“ต๋า ต๋าเฮาปะขี้จ๋างนี้ก๋องนึ่งจะเอาก่” “เอาก่า”อ้ายคำตอบตึงสองคนกะจ่วยกั๋นโงบขี้จ๊างใส่ถุงสะปายของอ้ายคำไว้ แล้วกะปากั๋นเตียวต่อไป แล้วตึงสองคนกะตกใจ๋เพราะว่าปะยักษ์ขวางตางอยู่ตั๋วนึ่งมันจะกิ๋นสองคนนี้ติกๆ อ้ายเปี้ยกับอ้ายคำก่บ่ยอมฮื้อมันกิ๋น เลยต้าพนันขันต่อกับยักษ์ว่า“ของไผใหญ่กว่า” ถ้าก้านก่อนถึงจะยอมฮื้อกิ๋นยักษ์ก่ฮับคำต้านั้น ข้อแรกยักษ์ก่เอาหวีมาวางส่วนอ้ายเปี้ยนึกได้ว่ามีเผียที่เปอะหลังก่เอามาวางยักษ์ก่ยอมก้านเพราะเข้าใจ๋ว่าเป๋นหวีของคนละกะใหญ่กว่าของยักษ์ กำนี้ยักษ์กะเอามือเก๋าหัวตั๋วเก่ากะไปปะใส่เหาตัวนึ่งกะเอามาวางฝ่ายอ้ายเปี้ยก่นึกได้ว่ามีเต่าอยู่ตั๋วนึ่งกะจกเอามาวาง ยักษ์ก่ยอมก้านแหม เพราะเข้าใจ๋ว่าเตานั้นเป๋นเหาของคน ซึ่งใหญ่กว่าของยักษ์ ที่นี้ยักษ์ก่เอามือล้วงเข้าไปในปากของตั๋วเก่าเอาขี้เมี้ยงออกมาวาง ฝ่ายอ้ายเปี้ยนึกได้ว่าตั๋วเองมีขี้จ๋างอยู่ในถุงสะปายก๋องนึ่งจึงโงบออกมาวางกะนี้ยักษ์ก่ยอมก้าน แล้วกะได้ฮื้อแก้วแหวนเงินคำสองคนนั้นกลับบ้านแหมตวย สองคนนั้นก่ปากั๋นเตียวตางกลับบ้าน ระหว่างตางกะอิ๊ดกะอ่อนเลยปากั่นนั่งพักที่ปื้นเก๊าไม้เก๊านึ่ง นั่งได้สักกำต๋าของอ้ายเปี้ยกะไปหันใส่ ฮางนกฮางนึ่งบนเก๊าไม้ก่อู้ว่า“ต๋า ต๋ามีฮางนกอยู่บนเก๊าไม้อยู่ฮางนึ่ง สงสัยจะมีไข่นกอยู่ สูขึ้นเอากำบ่อข้าจะเป๋นคนผ่ฮื้อ” อ้ายต๋าฮับปาก ละกะขึ้นไปเอา ปอถึงฮางนกก่เอามือล้วงเข้าไปในฮางนกปรากฏว่าคั่วเอาคองูเห่าติดมือมางูก่ผู่ปิดใส่ต๋าของอ้ายต๋า ยะฮื้อต๋าของอ้ายต๋าผ่หัน อ้ายต๋าตกใจ๋ก่ะขว้างงูไปที่ปื้นเก๊าไม้ ซึ่งใกล้ใกล้กับตี่อ้ายเปี้ยนั่งอยู๋ อ้ายเปี้ยหันงูกะตกใจ๋กะล่นหนี
ตั้งแต่วันนั้นเป๋นต้นมาอ้ายต๋ากะต๋าดีอ้ายเปี้ยกะเตียวได้ ตึงสองคนกะจ่วยกันเอาแก้วแหวนเงินคำที่ยักษ์ฮื้มมาไปขาย เอาเงินมาแบ่งกั๋น ละกะอยู่ตวยกั๋นอย่างมีความสุข...........

      นิทานเรื่องนี้ให้ข้อคิดว่า คนเฮาจะต้องฮู้จักฮักกั๋น แบ่งกั๋น จ่วยเหลือกั๋น ละกะตี่สำคัญจะมีผญ่า ปัญญาติดตัวไว้เพื่อจะได้เอาตัวรอดได้