โดย ทศพล  - 21 ก.ย. 2544







      การแนะแนวเป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องจัดต่อเนื่องกันไปเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคน ให้สามารถพัฒนาไปตามศักยภาพสูงสุดของเขา การแนะแนวในสถาบันการศึกษาควรจะเริ่มอย่างน้อยตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดให้สอดคล้องกับวัย และลักษณะโดยธรรมชาติของนักเรียนแต่ละวัย แต่ละระดับ ตั้งแต่ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ส่วนในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งนับว่าเป็นวัยในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ของนักเรียน และการแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น แบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ


เป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางร่างกายโดบใช้แบบสำรวจ ใช้แบบสอบถาม หรือแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อหาข้อมูลต่างๆ ทั้งทางด้านข้อมูลส่วนตัว ครอบครัว อารมณ์ สังคม สติปัญญา ความสนใจ บุคลิกภาพ ความคิด เฉพาะตัวของนักเรียนแต่ละคน และเก็บรวบรวมข้อมูลใว้ในระเบียนสะสม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษานักเรียนต่อไป


เป็นบริการจัดหา และรวบรวมข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับทางการศึกษา อาชีพ สังคม และการปรับตัว อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนหรือการพัฒนาตนเองให้มีโลกทัศน์กว้างขวางยิ่งขึ้น และเผยแพร่ให้นักเรียนได้ทราบทั่วถึงกันโดยสม่ำเสมอ ด้วยการติดป้ายนิเทศ แจกแผ่นผับ เสียงตามสาย


เป็นบริการแนะแนวที่ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของงานบริการแนะแนว ซึ่งเป้นการให้การปรึกษา ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่ม โดยให้ความช่วยเหลือในปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาส่วนตัว การศึกษาเล่าเรียน การเลือกแผนการเรียน และการเลือกอาชีพ ซึ่งอาจจัดในรูปของกิจกรรมโฮมรูม หรือกิจกรรมพิเศษโดยครูแนะแนว


เป็นการจัดหางานพิเศษ การจัดทุนการศึกษา ทั้งทางการจัดนักเรียนเข้าชั้นเรียนตามระดับความสามารถที่ได้มีกระบวนการคัดเลือกอย่างเป็นระบบระเบียบ


เป็นบริการที่มุ่งประเมินผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว ทั้งนี้เป็นการตรวจสอบดูว่าบริการที่จัดให้นักเรียนประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ทำให้ทราบถึงทัศนคติ ข้อคิดเห็น ความต้องการ ฯลฯ เพื่อใช้ปรับปรุงบริการแนะแนวให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

<ม่วง>บรรณานุกรม