บทบาทของผู้บริหาร

โดย เยาวเรศ วงศ์ปาลีย์  - 17 ส.ค. 2544



       ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบและภาระกิจหลักที่สำคัญ คือ รับผิดชอบงานทุกอย่างของสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานธุรการและการเงิน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ การบริหารงานกิจการนักเรียน การประชาสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน        ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมที่มีขนาดใหญ่ย่อมมีบุคลากรมาก การบริหารงานเพียงคนเดียว อาจทำให้เกิดข้อบกพร่องได้ ผู้บริหารระดับสูงจึงมอบอำนาจบางอย่างให้ผู้อื่นปฎิบัติแทน หรืออาจแต่งตั้งหลายๆคน มารับมอบอำนาจลดหลั่นกันไปตามสายงาน ลักษณะของผู้บริหารแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
       1.ผู้บริหารแบบอัตนัย (Autocratic leader) คือ ผู้บริหารที่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง จะทำอะไรก็สั่งการด้วยตนเอง ไม่ต้องประชุมปรึกษาการือกับใคร เป็นผู้มีความมั่นคงในตนเอง ต้องการให้ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วไม่ชอบสั่งการตามขั้นตอน ให้ผู้ปฎิบัติดำเนินการทันที
       2.ผู้บริหารแบบตามสบาย (laissez fair leaders) คือ ผู้บริหารที่ปล่อยให้ผู้ร่วมงานทำงานกันตามสบาย กฎ ระเบียบไม่บังคับเข้มงวด การปฎิบัติงานยืดหยุ่นและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน การบริหารงานแบบนี้งานจะไม่ค่อยก้าวหน้า แต่คนชอบการทำงานจะไม่ชอบเพราะไม่ค่อยมีงานทำ ผู้บริหารไม่สร้างงาน
       3.ผู้บริหารแบบประชาธิปไตย (democratic leaders) คือ ผู้ที่บริหารงานโดยใช้แนวทางของประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนเป็นเจ้าของโรงเรียนเมื่อจะคิดทำอะไรจะต้องให้ทุกฝ่ายเห็นชอบ แล้วร่วมมือกันทำงาน งานจะดำเนินไปช้าเพราะต้องประชุมปรึกษาหารือกันหลายครั้ง แต่เกิดความรอบคอบในการทำงาน ผู้ร่วมงานร่วมมือร่วมใจกันดีมีความรู้ความเข้าใจงานเป็นอย่างดี
       ผู้บริหารในโรงเรียนที่มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบตั่งแต่สูงสุดและลดระดับกันมามีดังนี้
       1.ผู้บริหารสูงสุดในโรงเรียน <ม่วง>ได้แก่ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ซึ่งเรียกกันตามขนาดของโรงเรียนและระดับขั้นของเงินเดือน มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานทุกอย่างของโรงเรียน
       2.ผู้ช่วยผู้บริหาร <ม่วง> เป็นผู้ที่ผู้บริหารสูงสุดมอบอำนาจหน้าที่ให้ปฎิบัติ ดูแลรับผิดชอบงานเฉพาะด้าน เช่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เป็นต้น
       3.หัวหน้าหมวดวิชา<ม่วง> เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบงานของหมวดวิชา เช่น หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ หมวดวิชาภาษาไทย แต่ละหมวดวิชาจะมีหัวหน้าหมวดดูแลในหมวดนั้นๆ
       4.หัวหน้าฝ่าย <ม่วง>มีอำนาจเทียบเท่ากับหัวหน้าหมวดวิชา แต่งานแตกต่างกันไป เช่น หัวหน้าฝ่ายการเงิน หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม เป็นต้น
       ผู้บริหารแต่ละระดับจะมีบุคลากรร่วมเป็นองค์กรบริหารด้วย เช่นผู้ช่วยผู้อำนวยการก็มีหัวหน้าหมวด หัวหน้าฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในความดูแล หัวหน้าหมวดวิชาก็มีอาจารย์ที่อยู่ในหมวดวิชานั้นๆ หัวหน้าฝ่ายก็มีผู้ปฎิบัติงานในฝ่ายนั้นๆช่วยเหลือปรึกษาหารือกัน
      การบริหารงานบุคคลผู้บริหารควรมีสมรรถภาพที่สามารถปฎิบัติดังต่อไปนี้
       - จะต้องกำหนดอัตราตำแหน่งของบุคลากรให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอน
       - จะต้องดำเนินการคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
       - จัดสรรบุคลากรเข้าประจำตำแหน่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
       - พิจารณาความดีควาชอบ และเสนอขอเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์
       - ควบคุมดูแลการทำงานของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน
       - รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร วิเคราะห์ประเมินผลการทำงาน

      ในฐานะผู้บริหาร การตัดสินใจเป็นภาระหน้าที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตขององค์กร ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การทำให้การตัดสินใจนำไปสู่ความก้าวหน้า และความสำเร็จในภาระหน้าที่ขององค์กรล้วนแต่เป็นประเด็นที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากก่อนจะทำการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เมื่อมองในเชิงกระบวนการทำงานเชิงระบบสามารถแบ่งการตัดสินใจออกเป็น 4 เรื่อง ดังนี้
       <ฟ้า> 1. การตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ของงาน เช่น โรงรเรียนมีเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของงานที่จะทำอย่างไร
       <ฟ้า> 2. การตักสินใจเกี่ยวกับแผน เป็นการกระทำเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
       <ฟ้า> 3. การตักสินใจเกี่ยวกับการลงมือปฎิบัติงาน เพื่อทำให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนด
       <ฟ้า> 4. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลของการทำงานที่เกี่ยวกับความน่าพอใจและการทำงานในขั้นต่อไป
       ทั้งนี้การตัดสินใจที่ดีนั้นจะต้องขึ้นอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ความรอบรู้ ค่านิยมหรือความรู้สึก และการยอมรับในความสำคัญของผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารจะต้องมีวิธีและแนวทางในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะตัดสินใจ และเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ แนวทางหรือวิธีที่จะช่วยผู้บริหารโรงเรียน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดี คือ
       - ผู้บริหารตรวจสอบผลการปฎิบัติงานของตนหรือของโรงเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็นต่างๆ แล้วนำผลการสำรวจไปปรับปรุงงานให้ดีขึ้น วิธีนี้เรียกว่า การวิจัยเชิงปฎิบัติการ(Action Research)
       - ผู้บริหารจะตั้งคณะทำงานขึ้น 2 คณะขึ้นไปแล้วให้ทุกคณะพิจารณาแก้ไขปัญหาในเรื่องเดียวกันในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วนำข้อเสนอของทุกคณะมาทำการตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด วิธีการนี้เรียกว่า คณะผู้ช่วยงาน (Advocat Teams)
       - การประชุมระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้ความคิดมากที่สุดในเวลาจำกัด แล้วนำมาเรียบเรียงจัดระเบียบและตัดสินใจภายหลัง วิธีการนี้เรียกว่า การระดมพลังสมอง (Brainstorming)
       - มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่ง แล้วทำการสอบสวน ตรวจสอบ ซักถามผู้รู้แล้วร่างข้อสรุปและข้อเสนอแนะ นำข้อมูลที่ได้ไปเสนอให้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องพิจารณา วิธีการนี้เรียกว่า การตั้งคณะกรรมการสืบสวน (Commission of Inquirs)
       - ให้แต่ละคนที่เกี่ยวข้องเริ่มคิดหาวิธีการหรือข้อเสนอแนะของแต่ละคนก่อน แล้วนำข้อเสนอแนะของแต่ละคนมาเรียบเรียงรวมกัน แล้วนำข้อเสนอที่รวมได้มาเรียบเรียงรวมกันเป็นข้อเสนอของคนทั้งคณะ วิธีการนี้เรียกว่า การหารข้อตกลงร่วม (Consensus)
       - การวิเคราะห์ภาษาในหนังสือ หรือสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็น แล้วนำมาวิเคราะห์ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ วิธีการนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
       - การวางแผนปฎิบัติงานด้วยการกำหนดชช่วงเวลาการปฎิบัติกิจกรรมต่างๆในแผนที่ต้องทำต่อเนื่องและคู่ขนานกันไป แล้วหาลำดับความต่อเนื่องของกิจกรรมที่สำคัญที่ขาดหรือสลับกันไม่ได้ เพื่อยึดเป็นแนวทางหลักในการปฎิบัติงานตามแผน วิธีการแบบนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤต (Critical Path)
       - การหาข้อมูลความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยเทคนิควิธีการถามซ้ำจนได้ข้อสรุปจากคนทั้งกลุ่ม วิธีการนี้เรียกว่า เดลไฟ (Delphi)
       - จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือผลผลิตที่ได้โดยดูแต่ข้อดีและข้อเสียที่ปรากฎ โดยไม่คำนึงถึงว่าการดำเนินงานหรือผลผลิตนั้นจัดขึ้นเพื่อจุดประสงค์หรือเป้าหมายอะไร วิธีการนี้เรียกว่า การประเมินแบบอิสระจากเป้าหมาย (Goal-free Evaluation)
       - การที่มีผู้ต้องการข้อมูล เมื่อพบบุคคลที่ให้ข้อมูลได้เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม แล้วใช้วิธีการพูดคุย/ซักถาม หาข้อมูลหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้หรือประเด็นปัญหา วิธีการแบบนี้เรียกว่า การสัมภาษณ์ (Interviews)
       - การออกไปดูของจริง ซึ่งอาจเป็นกระบวนการทำงานกิจกรรม สถานที่และอื่นๆ โดยมีประเด็นคำถามและรายการที่จะสังเกตเตรียมไว้ก่อนการบันทึกผลการสังเกตแต่ละข้อที่อยู่ในรายการ แล้วนำมาหาข้อสรุป วิธีการนี้เรียกว่า การสังเกต (Observation)
       - ให้กลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นกลุ่มย่อย แต่ละกลุ่มเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวทางที่จะพัฒนาโรงเรียนของตนตามประเด็นที่กำหนด รวมทั้งวิธีการต่างๆที่จะบรรลุความสำเร็จได้ แล้วแยกกันไปทำงานในการปรับปรุงแก้ไขแนวความคิดของกลุ่มให้บรรลุตามเป้าหมาย แล้วผู้บริหารจะรวบรวมข้อเสนอของทุกกลุ่มไว้พิจารณาและตัดสินใจ วิธีการแบบนี้เรียกว่า โรงเรียนที่เป็นไปได้ (The Possible Scool)
       - การใช้รุปแบบคำถามที่หลากหลาย ทั้งในรูปของคำถามปลายเปิด แบบตัวเลือก แบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งเราคุ้นเคยและมักจะใช้กันอยู่เสมอ รวมทั้งรูปแบบอื่นๆด้วย วิธีการนี้เรียกว่า แบบสอบถาม (Questionnaires)
       - การพรรณาภาพของสถานการณ์ในอนาคตของโรงเรียนหรือในองค์กรของเราที่เราปราถนาจะให้เป็น แล้วชี้แจงเส้นทางหรือแนวทางที่จะนำไปสู่สถานภาพที่คาดหวังในอนาคต พร้อมทั้งเสนอทางเลือกในการตัดสินใจตามขั้นตอนต่างๆและแนวทางต่อไปหลังจากผ่านเลือกแต่ละทางไปแล้ว วิธีการนี้เรียกว่า การสร้างภาพอนาคต (Scenario)
       - การให้มีคณะทำงานชุดหนึ่งทำข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาแก่เขา แล้วส่งข้อเสนอแนะนั้นให้อีกกลุ่มหนึ่งพิจารณาให้ข้อวิจารณ์ และข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อวิจารณ์และข้อเสนอแนะทั้งหมดกลับมาให้กลุ่มแรกพิจารณาอีกครั้ง ปรับปรุงเป็นข้อเสนอสุดท้ายแล้วส่งให้ผู้บริหาร วิธีนี้เรียกว่า ความคิดเห็นที่สอง (A Second Opinion)
       - นำข้อเสนอที่เป็นแผนหรือแนวปฎิบัติเสนอต่อที่ประชุม แบ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายค้าน ให้ทั้งสองฝ่ายนำเสนอความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆของตน แล้วนำความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายมาเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ วิธีการนี้เรียกว่า การสอบสวนโดยคณะลูกขุน (Trial by Jury)
       ผู้บริหารควรพิจารณาทำความรู้จักวิธีการต่างๆเหล่านี้ไว้เมื่อเกิดปัญหาก็ใจเย็นๆลองพิจารณาสถานการณ์ให้รอบคอบ แล้วเลือกใช้วิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในกับสถานการณ์ในขณะนั้น แล้วจึงตัดสินใจอย่างรอบคอบ และผู้บริหารจะใช้วิธีการเหล่านี้ได้ต้องใจกว้าง และเป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่ผู้ชอบตัดสินใจโดยอาศัยความคิดของตนแต่ผู้เดียว
       ทั้งนี้ผู้บริหารโรงเรียนยังมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีจิตใจเป็นกลาง ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียน ครูผู้สอนจะต้องปรับปรุงพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ และเจตคติของผู้เรียน โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้เป็นเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ในการสร้างและเตรียมทรัพยากรมนุษย์ ให้ประเทศมีคุณภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบยั่งยืน ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนจะต้องกำหนดกลยุทธ์ โดยเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารจะต้องเร่งรัดพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพที่เหมาะสมที่จะให้การศึกษาอบรมพัฒนาเยาวชนของชาติในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ พอที่จะเปรียบเทียบให้มองเห็นได้ชัดเจน คือ ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่จะต้อง
<ม่วง> "ทำงานหนัก รักพวกพ้อง มองหามิตร จิตไม่หวั่น"
       ผู้บริหารโรงเรียนจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นผู้บริหารโรงเรียนจึงเป้นหัวใจของการปฎิรุปการศึกษา เพราะผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำ และเป็นผู้สร้างขวัญกำลังใจให้ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดลักษณะนิสัยที่ต้องการในโลกยุคไร้พรมแดน ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องทบทวนบทบาทและภาระกิจหน้าที่ของตนเองในสังคมยุค "โลกาภิวัตน์" เพื่อการเป็นผู้บริหารโรงเรียนสู่ความเป็นสากลอย่างแท้จริง


บทบาท
การวางแผน
บรรณานุกรม