ครู

โดย วิภาพร ทองหลิ้ม  - 05 ต.ค. 2544


การพัฒนานโยบายการยกย่องครูผู้มีผลงานดีเด่น


      <ม่วง>พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 55 วรรคสอง ให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรร เป็นเงินอุดหนุนงานริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย ์และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เพื่อให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงเห็นสมควรให้มีโครงการพัฒนานโยบายเรื่องการยกย่องครูผู้มีผลงานดีเด่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบาย การยกย่องครู ผู้มีผลงานดีเด่นและเสนอแนะมาตรการที่นำไปสู่ การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยการพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างยุทธศาสตร์การดำเนินงานทางการศึกษา รวบรวมข้อคิดเห็นและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งรูปแบบและวิธีดำเนินงาน ยกย่องครูและบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นของต่างประเทศและของประเทศไทย

ผลการศึกษาสรุปได้ว่า

      1. แนวคิดในการยกย่องให้รางวัลครูและบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ที่กระทำความดีที่สร้าง สมมาในอดีต มีสองแนวคิดหลักคือ

<ฟ้า>1.1 ประกาศยกย่องครูให้รางวัลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นและได้กระทำความดีให้เป็นที่ประจักษ์ แก่บุคคลทั่วไป เพื่อเป็นกำลังใจให้ปฏิบัติงานต่อไป ซึ่งแนวคิดนี้เป็นที่นิยมปฏิบัติมาช้านานแล้วทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะสาขาวิชาชีพครู

1.2 ประกาศยกย่องให้รางวัลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่นและได้กระทำความดีให้เป็นที่ประจักษ์แก่ บุคคลทั่วไป และให้การสนับสนุนทางด้าน "เงินและงาน" เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลหรือหน่วยงานนั้นได้ทำ ประโยชน์ให้แก่วิชาชีพ สังคม และประเทศชาติมากขึ้น ดังตัวอย่างของแนวคิดในเรื่องนี้คือ
1) ให้รางวัลและยกย่องครูผู้มีความ เป็นเลิศทางการสอนระดับชาติของประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์
2) ให้รางวัลและยกย่องครูผู้มีความเป็นเลิศของประเทศฮ่องกง
3) ให้รางวัลและยกย่องครูแห่งชาติและครูต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

2. รูปแบบและวิธีการยกย่องให้รางวัลครูของต่างประเทศได้ดำเนินการอย่างมีระบบ และปฏิบัติอย่างจริงจัง เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กำหนดวิธีการปฏิบัติไว้ในมาตรา 33 หมวด 7 ในกฎหมายครู ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ESCAP ดำเนินการโดยมูลนิธิหรือหน่วยงานอิสระ เนื่องจากนานาประเทศให้ความสำคัญต่อการยกย่องให้ รางวัลครูผู้มีผลงานดีเด่น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป อีกทั้งเป็นการจูงใจให้คนดี คนเก่งมาประกอบวิชาชีพครู ซึ่งมี ผลกระทบต่อคุณภาพของการศึกษา คุณภาพของเยาวชน และยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย

3. รูปแบบและวิธีการยกย่องให้รางวัลครู และวงการวิชาชีพอื่นของประเทศไทย มีวิวัฒนาการชัดเจนสอดคล้องกัน คือจะมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบ เช่น คุรุสภา มูลนิธิ สมาคม และองค์กรต่างๆ สรรหาบุคคลผู้มีผลงานดีเด่น มีความดี มีความเสียสละ ในแต่ละอาชีพ และประกาศเกียรติคุณให้สังคมได้ประจักษ์อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและมีกำลังใจที่จะปฏิบัติงาน และทำความดี ต่อไป ในระยะหลังได้เริ่มมีการยกย่องให้รางวัลในด้านของ "เงินและงาน" เพื่อให้เกิดการสร้างผลงานที่ดีต่อไป เป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ใน ทุกสาขาวิชาชีพให้มีความมั่นคงเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ในขณะนี้การยกย่องให้รางวัลเชิดชูเกียรติครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 55 วรรคสอง อีกทั้งได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาด้วย ทำให้การยกย่องและให้รางวัลครูในระดับชาติเป็นระบบ และมีกองทุนคงเงินต้นสนับสนุนด้วย ซึ่งคาดว่าครู คณาจารย์ และ บุคลากร ทางการศึกษาจะมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานเพื่อชาติและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ ศึกษาจะมีโอกาสได้รับการยกย่องให้รางวัลตามแนวคิดที่สองคือ นอกจากจะได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องแล้วจะได้รับรางวัลด้าน "เงินและงาน" เพื่อสร้างสรรค์พัฒนางานการเรียนการสอน พัฒนาเพื่อนครู และพัฒนาองค์ความรู้ในการประกอบวิชาชีพครูอันนำไปสู่ การพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการยกย่องให้รางวัลเชิดชูเกียรติครูผู้มีผลงานดีเด่น


<ฟ้า>4.1 ต้องพัฒนาวิชาชีพทั้งระบบครบกระบวนการ กล่าวคือ จะต้องดำเนินการเรื่องการผลิตและพัฒนาครู การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพครูและสภาวิชาชีพครู การบริหารครู ระบบ เงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งการยกย่องให้รางวัลเชิดชูเกียรติครูให้สอดประสาน เชื่อมโยงกันตามลำดับก่อนหลังอย่าง เหมาะสม

4.2 จัดตั้งกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้เงินที่เหลือจากโครงการเปลี่ยน เส้นทางชีวิตและรณรงค์ให้ภาครัฐและภาคเอกชนและบุคคล ร่วมกันจัดตั้งกองทุนนี้โดยให้สิทธิประโยชน์ แก่ผู้บริจาคตามมาตรา 58

4.3 จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมยกย่องให้รางวัลครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นองค์กรมหาชนอิสระ จากระบบราชการอยู่ภายใต้กำกับดูแลของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

4.4 เผยแพร่แนวคิดในการยกย่องให้รางวัลครูจากผู้มีผลงานดีเด่นและมีความดีในอดีตโดยให้ "เงินและ งาน" เพื่อดำเนินงานต่อไปในอนาคต ตามโครงการครูแห่งชาติ ครูต้นแบบ ครูแนวใหม่ และครูภูมิปัญญาไทย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

4.5 ดำเนินการยกย่องให้รางวัลแก่ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 55 วรรคสองของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

4.6 ให้รีบเร่งกำหนดกลไกเชื่อมโยงการยกย่องให้รางวัลครูของหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ให้ต่อเนื่อง เป็นบันไดวิชาชีพครู โดย
<แดง>1) จัดตั้งเครือข่ายการยกย่องให้รางวัลครู
2) ให้เพิ่มคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับการยกย่องเป็นครูแห่งชาติจะต้องเป็นผู้ได้รับ การยกย่องให้รางวัลจากหน่วยงานองค์กร มูลนิธิ หรือสมาคมในเครือข่ายยกย่อง ให้รางวัลครูมาแล้ว โดยถือว่าครูแห่งชาติเป็นบันไดวิชาชีพสูงสุดของครู
3) ให้หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ หรือสมาคมต่างๆ ในเครือข่ายการยกย่องให้รางวัล ครูเป็นผู้มีสิทธิเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณให้เป็นครูแห่งชาติ ครูต้นแบบ ครูแนวใหม่ และครูภูมิปัญญาไทย


<ฟ้า>4.7 ในการพิจารณาครูผู้สมควรได้รับการยกย่องให้รางวัลให้พิจารณาตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 ประการต่อไปนี้
1) การครองตนของครู
2) การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3) การมีความสามารถทางวิชาการ
4) การจัดการเรียนการสอน
5) การมีพัฒนาการของผู้เรียน
6) การพัฒนาโรงเรียน
7) การประสานงานกับชุมชน


<ฟ้า>4.8 ให้รีบเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1) ออกกฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
2) ออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการยกย่องให้รางวัลครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
3) ออกพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมยกย่องให้รางวัลครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
4) แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติครู พ.ศ. 2488 และฉบับปรับปรุง 2523 โดยให้ศูนย์ส่งเสริมได้ ดำเนินการยกย่องให้รางวัลครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 55 วรรคสอง


                  
หน้าแรก