หลักสูตร

โดย ปิยาพร อินทร์บาน  - 23 ก.ย. 2544




หลักสูตร

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตรไทย
หลักสูตรเริ่มประกาศใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร.5 )
ในสมัยก่อนสถานศึกษาก็คือวัดครูก็คือพระ นักเรียนในสมัยนั้นก็จะเป็น บุตรหลานของเจ้าขุนมูลนาย สิ่งที่เรียน ก็จะเป็นการอ่านการเขียนภาษา ไทย ภาษาบาลี สันสกฤ ศาสนา และการคิดเลข ยังมีการศึกษาอีกลักษณธหนึ่ง คือการศึกษาวิชาชีพ ผู้ที่สนใจจะเรียนก็ต้องไปเรียนกับผู้รู้ เช่น เรียนช่าง ก็ต้องไปเรียนที่บ้านนายช่าง เป็นต้นต่อมาก็เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อมีผู้ที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อการศึกษาจนเริ่มมีโรงเรียน แต่เมื่อเริ่มมีโรงเรียนใหม่ก็ผู้ที่เรียนก็จะเป็นผู้ที่ฐานะเช่นลูกขุนนางข้าราชการจนต่อมาการศึกษาก้มีบทบาทมากขึ้นจึงต้องพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกระดับ จนพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันที่เราเรียนเราทองจำเป็นนกแกวนกขุนทองเมื่อสมัยก่อนที่หลักสูตรยังไม่ได้ปรับปรุง แต่เดี๋ยวนี้ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรไม่ให้นักเรียนเรียนแบบท่องจำ
แต่หลักสูตรที่นักเรียนเรียนกีนในกันในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการพัฒนาให้เหมาะมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันมากที่สุด และ อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปมาก ด้วยเหตุนี้หลักสูตรที่นักเรียนเรียนกันในปัจจุบันก็จะต้องทำให้นักเรียนเป็นผู้ที่ก้านทันโลกทันเหตุการณ์เพราะไม่เช่นนั้นบ้านเมื่องของเราก็จะก้าวตามประเทศเพื่อนบ้าไม่ทัน ดังนั้เราจึงต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อที่เราจะได้ไม่หล้าหลังคนอื่น ๆ เขา
หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีอิทธิพลมาจาก
1. ความมเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
2 ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
3. ความเจริญก้าวหน้าในการขนส่ง สื่อสาร
4. การเปลี่ยนแปลงทางเศรฐกิจ
5. ความต้องการการศึกษาของแต่ละบุคคล
การพัฒนาหลักสูตรก็จะมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ
1. การปรับปรุง คือ การปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่ให้ ดี และ เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ การจัดหลักสูตรใหม่ ที่ต่างจากหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ทั้งรูปแบบ โครงสร้าง ตลอดจนเป้าหมายและ กระบวนการ
หลักสูตรที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้
1. สนองตอบความต้องการของสังคม
2. สนองตอบความต้องการของเด็ก
3. เหมาะสมกับสภาพเศรฐกิจและสังคมในประเทศ
4. เหมาะกับความสามารถของเด็ก
5. นำมาใช้ได้สะดวก
6. สามารถยืดหยุ่นได้






เด็กที่เรียนในโรงเรียนมัธยมทุกคนก็ย่อมที่จะต้องการที่จะเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหรือที่ตนเองชื่นชอบ ด้วยเหตุนี้เองก็จะทำให้นักเรียนเกิดการแข่งขันกันยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือการสอบเอ็นทรานส์ มันก็คือการแข่งขันอย่างหนึ่ง ใครท่องจำได้มากเท่าไหร่ก็มีโอกาสที่จะได้เขาเรียนในมหาวิทยาลัยที่ตนต้องการมากเท่านั้น จนบางครั้งอาจจะติดเป็นนิสัยของเด็กที่ทำให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัวในอนาคต ดังนั้นก็คงจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกียวข้องที่จะจัดทำให้หลักสูตรเหมาะสมและมีความสอดกับการดำเนินชีวิต สิ่งแวดลอม และที่สำคัญต้องยกระดัยจิตใจของผู้เรียน ไม่ใช่ว่าจะมุ่งแต่แก่งแย่งแฃ่งขันชิ่งดีชิ่งเด่นกัน ถ้าเป็นอย่างนี้สังคมไทยเราคงไม่ใช่สังคมไทยที่หน้าอยู่ ไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้ง มีความเอื้ออาทรกันดั่งในสมัยเก่าก่อนการแก่งแย่งแข่งขันก็เริมที่แทรกเข้ามาในจิตใจเรามากขึ้นทุกวันโดยที่เราไม่รู้สึกตัว สังเกตได้ง่าย ๆ จากสังคมเมืองในปัจจุบันเราก็คงเห็นกันอยู่ว่า เขาต้องดิ้นรนเพื่อความอยูรอด เพื่อปากเพื่อท้องของเขา บางคนเดินชนคนอื่นแล้วยังไม่มีเวลาแม้แต่ที่จะหันมาขอโทษ ไม่ใช่งว่าเขาไม่มีการศึกษา แต่อาจจะเป็นเพราะเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เขาต้องรีบเร่ง ปากกัดตีนถีบเพื่อความอยู่รอด เขาก็ไม่ใช่คนที่ผิดทั้งหมด ก็เป็นเรื่องที่เราจะไม่รู้ว่าเราจะเอาความผิดนี้ไปว่างไว้ที่ใคร เห็นสภาพสังคมเมื่องแล้ว ลองย้อนกลับมามองสภาพความเป็นอยู่ในสังคมชนบท (ขอโปรโมทหน่อย บ้านผู้เขียนก็อยู่ใชนบท) คนเด็ก ๆมีความสุขอยู่ในโลกของเขาที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร เมื่อเปรียบกับเด็กในเมือง เด็กในเมืองต้องตั้งหน้าตั้งตาเรียน ตอนเย็นหลังเลิกเรียนก็ต้องมานั่งเรียนพิเศษเพื่อที่จะได้เรียนได้เหมือนกับเพื่อน ยิ่งผู้ปกครองด้วยแล้วก็คงไม่อยากให้เด็กในปกครองของตนเองเรียนหรือสอบได้อันดับที่สุดทายก็เลยต้องให้เด็กเรียน ๆๆๆและเรียน แต่เด็กในชนบทพอตอนเย็นหลังเลิกเรียน ก็เป็นเวลาที่เด็ก ๆ สามารถที่ไปทำอะไรก็ได้ ไปเล่นกับเพื่อน ๆ ยิงนกตกปลาตามประสาเด็ก ๆ ผูเขียนยังเคยเลยเวลาตอนเย็นหลังเลิกเรียนทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยทุก ๆ วัน ผู้เขียนจะไปเล่นฟุตบอลกับเพื่อนที่ทุ่งนาที่เขาเก็บเกียวผลผลิตไปแล้ว ทั่ง ๆที่ไม่ใช่สนามฟุตบอล เลย แต่พวกเราก็วิ่งเล่นกันจนมันกลายเป็นสนามเด็กเล่นไปช่วงหนึ่ง ตามประสาเด็กแต่การเล่นของเด็กเหล่านี้ในบางครั้งก็เกิดการเรียนรู้ได้เหมือนกัน ก็อย่างที่เราทราบกัน การเรียนรู้ของคนเราไม่จำเป็นที่จะเรียนแต่เฉพาะในห้องเรียนสี่เหลี่ยมแคบ ๆ เท่านั้น โลกทั้งใบมีเรื่องที่เรายังไม่รู้อีกมากเด้กในชนบทเขามีการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ต่าง ๆที่เขาเห็นในบ้านของเขา ในชุมชนของเขา การเรียนในโรงเรียนบางครั้งเด็กในชนบทก็ไม่มีโอกาสที่จะเรียนเพราะปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เขาจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้ชีวิตด้วยตัวของเขาเอง แตกต่างจากเด็กในสังคมเมืองมาก ไปคนละทิศทางเลยก็ว่าได้การเรียนของเด็กในสังคมเมืองเขาจะแข่งกันเรียนในห้องเรียนสี่เหลี่ยม เมื่อสอบตกพ่อแม่ที่บ้านก็ว่าเอาจนบางครั้งอาจทำให้เด็กเครียดและเกิดปัญหาหลาย ๆ อย่างตามมาซึ่งก็เ)้นสิ่งที่แตกต่างจากเด็กในชนบท ยิ่งในโรงเรียนที่ห่างไกลไปมาก ๆ อย่างเช่นในโรงเรียนชาวเขาที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่แล้วทำไห้ผู้เขียนเกิดความคิดว่าทำไมมีโอกาสที่จะร่ำเรียนทำไมเขาไม่ตั้งใจที่เล่าเรียนให้เต็มที่ รู้สึกเสียนดายโอกาสที่เขาได้รับแล้วเขาไม่ได่มองเห็นคุณค่าของโอกาสที่คุณพ่อคุรแม่ของพวกเขาหยิบยื่นให้เช่น เด็กที่ หนีเรียนไปมั่วสุมกัน ยกพวกตีกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ใช้สารเสพติด และอีกหลาย ๆสาเหตุ เขามีโอกาสที่เขาจะได้เรียนแต่เขาไม่เอา แต่เด็กที่อยากเรียนแต่เขาไม่มีโอกาสที่จะเรียน อย่างในโรงเรียนที่ผู้เขียนได้ไปเป็นโรงเรียนที่ห่างใกลจากถนนทางหลวงมาก แต่ผูเขียนไม่ขอเอ่ยถึงชื่อและ สถานที่ตั้งของโรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนที่ไกลมากๆๆเลย รถก็เข้าไม่ถึงด้วยการเดินทางไปก็จะนั่งรถไปถึงทางเข้าแล้วจากนั้นก็เดินเท้าตลอดระยะทาง 3 กิโลเมตรกว่า ๆ แล้วทางก็ไม่ใช่ถนนเรียบๆ อย่างที่เราเห็น เป็นเขาเป็นดอยสูง ๆ ต่ำ ๆ มีเดินข้ามลำห้วยด้วย ตอนนั้นผู้เขียนเดินทางไปตอนปิดเทอม พี่สาวของผู้เขียนเป็นครูอาสาอยู่ที่นั่นผู้เขียนก็เลยตามไป กะว่าจะไปเที่ยว แต่เมื่อพบการเดินทางที่แสนจะลำบากลำบน ในใจผู้เขียนตอนนั้นคิดว่า" เราไม่หน้ามาเลยหาความลำบากใส่ตัวเอง" แต่เราก็ยังอดทนที่จะเดินต่อไปจนถึงหมู่บ้าน แต่เมื่อไปถึงแล้วนะ รู้สึกว่าประทับใจเด็ก ๆ เขามารอรับครูของเขา ดูพวกเด็ก ๆเขาดีใจที่ครูเขากลับมา เด็กหลายคนที่พาน้องมาเรียนที่โรงเรียนด้วย โดยเอาผ้าขาม้ามัดแล้วเอาน้องไว้ในผ้าแล้วมัดติดกับหลังทั้งวัน เพราะว่าพ่อแม่เขาต้องเข้าไปทำงานในไร่ เขาก็ต้องเลี้ยงน้องด้วยเรียนด้วย พอตกตอนเย็นเขาก็กลับไปทำงานที่บ้านแล้วก็กลับมาอยู่เป็นเพื่อนครูของเขาอีกเป็นภาพที่เราเองเห็นแล้วปรัทับใจบอกไม่ถูกไม่เสียดายเลยที่เดินมาไกล สภาพโรงเรียนเป็นไม้ทั้งหลังไม่ใหญ่โตมากมายมีเด็กนักเรียน ประมาณ 40 คนกว่า แต่ละคนก็เรียนในชั้นที่ไม่เท่ากัน แต่ก็นั่งเรียนอยู่ในห้องเดียวกันเวลาครูสอนก็ต้องเดินไปสอนทีละกลุ่ม เห็นว่าการเรียนของเด็ก ๆที่นี่ไม่เหมือนกับการเรียนที่เราเคยเรียนกันมาเลยต่างกันเด็กที่นีเขาเรียนจบกันสูงสุดก็แค่ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น ถ้าอยากจะเรียนต่อก็ต้องเข้าไปเรียนในตัวอำเภอที่การเดินทางที่ยากลำบากเป็นอุปสรรค แต่ส่วนมากที่เรียนจบกันแล้วเขาก็ทำไร่ต่อจากพ่อแม่เขาก็มีบ้างที่เขาเข้าไปเรียนกันในเมืองเด็กเขาเล่าให้เราฟังว่ามีชาวญี่ปุนเคยมาที่นี่แล้วเขาก็มาให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่นี่ให้ไปเรียนต่อในเมือง เห็นว่าได้ไปเรียนต่อกัน2คน แต่น่าเสียดายที่ผู้เขียนไปคราวนั้นไม่พบเขา อยากจะบอกว่าเด็ก ๆ ที่นี่น่ารักกันทุกคน รู้สึกว่าผู้เขียนพานอกเรื่องไปไกลเกินไปแล้ว คงไม่เป็นไรถือเสียว่าเป็นประสบการณ์ที่เรานำมาเล่าสู่กันฟังที่ทำให้เราได้เห็นว่าขณะที่เรานั่งเรียนกันสบาย ๆ ในห้องเรียนที่มีเครื่องปรับอากาสเย็นฉำแสนสบาย แล้วเรายังไม่ตั้งใจเรียนกันอีกเรามาลองคิดถึงคนที่เขาไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนเรามีโอกาสก็ใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าที่สุดอยากบอกอีกอย่างเกี่ยวกับหลักสูตรที่เด็ก ๆ บนดอยนั้เรียนผู้เขียนไม่รู้ว่าจะบอกว่ามันเป็นหลักสูตรอะไรดี เพราะไม่มีหลักสูตรที่แน่นนอนเพราะต้องแล้วแต่ว่าเด็กจะต้องไปทำงานที่ไร่กับพ่อแม่หรือเปล่า ไม่มีการเช็คเวลาเรียน แค่เด็ก ๆอ่านออกเขียนได้ก็ดีแล้ว หนังสือเรียนที่เด็ก ๆเขาใชเรียนกันก็เป็นหนังสื่อที่เขาบริจากมาเป็นส่วนมาก
จากที่เราเขียนมาทั้งหมดผู้เขียนก็เห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษาไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรหรือว่าอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับการศึกษาควรที่จะพัฒนาใหทั้วถึงไม่ใช่พัฒนาแต่ที่ดัง ๆ เป็นที่รู้จัก แล้วที่ไม่ดัง ไม่มีใครรู้จักก็ไม่ได้พัฒนาเขาก็หยุดอยู่กับที่ในขณะที่ที่อื่นเขาก้าวไปไกลมากแล้วท่านคิดว่าถ้ายังเป็นเช่นนี้อยู่บ้านเมืองเราเมื่อไหร่ที่พัฒนาไปไดทัดเทียมกับที่อื่น ก็เป็นสิ่งที่น่าคิดว่าเราจะทำอย่างไรกันจึงจะดีที่สุดเพราะว่าเราคนเดียวก็ไม่สามารถที่ไปเปลี่ยนแปลงระบบที่เขาวางเอาไว้ได้.......... .




ก็อย่างที่เราทราบกันว่าหลักสูตรที่เป็นตัวกำหนดว่าอนาคตของประเทศชาติเราจะเดินไปในทิศทางใด ผู้ที่พัฒนาเขาก็ไม่ได้หยุดนิ่งเขาก็มีการศึกษาค้นคว้าตลอดเวลาที่จะพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสม เช่นในปัจจุบันมีการเรียนแบบ home school ก็คือการเรียนในบ้าน ไม่จำเป็นต้องเรียนในโรงเรียน แต่ผู้เขียนคิดว่าการเรียนแบบนี้จะทำให้เด็กขาดอะไร ๆ ไปหลาย ๆ อย่าง เช่น ถ้าเรียนอยู่ที่บ้านเด็กก็จะไมามีเพื่อน ขาดก่รทำกิจกรรม แต่มันก็เป็นเรื่องที่เราต้องศึกษาและปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุดที่เราจะนำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาชาติ