การจัดการมัธยมศึกษา

โดย วาสนา สืบสุติน  - 05 ต.ค. 2544



             การมัธยมศึกษา<ม่วง> ซึ่งเป็นการศึกษาระดับกลาง ที่มีทั้งระดับประถมศึกษาและระดับอุดมศึกษามาเชื่อมต่อสัมพันธ์ กัน การมัธยมศึกษาแบ่งเป็น การมัธยมศึกษาตอนต้น และการมัธยมศึกษาตอนปลาย


            มัธยมศึกษาตอนต้น<ม่วง> ควรจัดการศึกษาที่ให้ทั้งความพร้อมและความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนกำลังอยู่ในวัยรุ่นอยู่ในช่วงที่สับสนและแสวงหาความเป็นตัวของตัวเอง จำเป็นที่จะต้องให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบที่จะให้แนวทางที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนแต่ละคน การศึกษาในระดับนี้เป็นการปูพื้นฐานวิชาชีพให้ผู้เรียนในการไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ ตามสิ่งที่ตนเองสนใจและถนัด เลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเมื่อจบมัธยมศึกษาตอนต้นแล้วอาจไปประกอบอาชีพเลยตามความสามารถ หรือศึกษาเพิ่มตามสายที่ตนถนัดและมีความสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถ อาจจะศึกษาวิชาชีพชั้นสูง ต้องการความรู้เป็นพิเศษ ก็ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนาไว้


             มัธยมศึกษาตอนปลาย<ม่วง> ควรจัดการศึกษาที่ส่งเสริมความถนัดเฉพสะตนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษา หรือเพื่อให้เพียงพอแก่การประกอบการงานและอาชีพตามที่ตนถนัด


สามารถจัดการศึกษาได้ดังนี้

            1. กำหนดเป้าหมายให้แน่นอนแต่จัดอย่างกว้างขวาง เพื่อให้บุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมได้มีโอกาสได้เข้ารับบริการได้ตามความต้องการและความสามารถ ณ ท้องถิ่นของตนได้ตลอดเวลา ต่อเนื่องตลอดชีวิต
             2. จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพทางเศณษฐกิจและสังคมของประเทศในระดับต่างๆ ทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยจัดให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกับสภาพแวดและวิถีชีวิต อันจะทำให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง รู้ถึงความสัมพันธ์กับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ตระหนักในความต้องการที่จะพัฒนาตนเองและชุมชนให้เป้นไปตามทิสทางที่พึงประสงค์
             3. จัดการศึกษาให้มีความหลากหลายทั้งในรูปแบบ เนื้อหาวิธีการ เพื่อให้บุคคลได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถ ความต้องการและความสนใจ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
            4. ควรเน้นให้ผู้เรียนได้มีความเจริญงอกงามทางปัญญา ความคิด จิตใจ ตลอดจนคุณธรรม อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการหล่อหลอมคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์



            5. พัฒนาความสมดุลระหว่างการเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมจากสังคมภายนอกประเทศ กับการเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมและวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมาของชุมชน โดยการถ่ายเทความรู้ซึ่งกันและกัน
            6. พัฒนาความสมดุลระหว่างการพึ่งพาตัวเองและการอาศัยพึ่งพากันและกัน อันเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์การพัฒนาประสาความร่วมมือเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีการพัฒนาที่ยั่งยืน
            7. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์และธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน


ดูหนังสืออ้างอิงตรงนี้คะ
จะไปอ่านบทความสาวสวยไหมคะ
จะไปอ่านบทความอรัมภบท เรื่อยๆไหมคะ
ลิงค์ไปยังเวปไซด์ sanook คะ