การวัดผล ประเมินผลการเรียน

โดย วลัยภรณ์ ต่อปัญญา  - 08 ต.ค. 2544


<ม่วง>การวัดผล ประเมินผลการเรียน
      ในปัจจุบันระบบการศึกษาให้ความสำคัญกับการวัดผล ประเมินผลการเรียนเป็นอย่างยิ่ง และนักการศึกษาในปัจจุนนี้ยอมรับและมีความเข้าใจในเรื่องที่รวการประเมินผลไว้ในกระบวนการศึกษาในทุกระดับการศึกษา จึงทำให้คำถามที่ว่า "เรากำลังทำอย่างไร" กับ"เราพยายามที่จะทำอะไร" จะไม่เป็นคำถามลอย ๆ อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะว่าคำถามทั้งสองคือแนวทางของคำถามที่ว่า "อะไรคือการศึกษา" และ "การสึกษาคืออะไร" ซึ่งการประเมินผลย่อมต้องมีความสำพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา หลักสูตรและวิธีสอนอยู่เสมอ ทั้งสามประการนี้เกี่ยวข้อสัมพันธ์กันแบบงูกินหาง จะขาดตกบกพร่องประการใดประการหนึ่งมิได้เป็นอันขาด

       ซึ่งหลังจากได้รับการตั้งเป้าหมายและจุดประสงค์ของการศึกษาแล้ว ไม่ว่าการเรียนการสอนนั้นจะดำเนินไปเพียงชัวโมงเดียว หรือตลอดระยะเวลาของการเรียนการสอน ก็จะต้องมีการวัดผลการเรียน เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้านั้น ๆ แต่ทว่าเรื่องนี้ก็ยังไม่เข้าใจกันดีนัก ด้วยเหตุที่นักการศึกษาบางส่วนยังมีความคิดว่าการเรียนการศึกษาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และการวัดผล ประเมินผลเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรสัมพันธ์กัน
อย่างไรก็ตามการวัดผลประเมินผลก็เป็นกระบวนการที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของการเรียนการสอนว่าได้ช่วยให้นักเรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่ ถ้าการวัดพบว่ายังไม่เป็นไปตามที่วางไว้ครูก็ต้องหันมาพิจารณาว่ากระบวนการในขั้นตอนใดที่ยังบกพร่อง จะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร จะเห็นได้ว่าการวัดผล ประเมินผลต้องทำควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ไม่ใช่ป็นกระบวนการสุดท้ายของการเรียนการสอน
       ปัญหาอยู่ที่ว่า"เราทำการวัดผล ประเมินผลกันไปทำไม" แล้วจริงหรือเปล่าที่ว่า "การวัดผล ประเมินผลเพื่อครูและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน" การวัดผล ประเมินผลการเรียนจะถือว่าเป็นการค้นว่านักเรียนยังไม่มีอะไร หรือยังขาดอะไร หรือมีความสามารถด้านใด แล้วจึงนำผลมาพัฒนา ส่งเสริมให้นักเรียนได้เจริญงอกงามครบตามที่ต้องการได้จริงสำหรับทุก และทุกกรณีจริงไหม เพราะยังมีนักเรียนบางคนจะมีอาการตอบสนองต่อการประเมินของตนออกมาในด้านลบ แสดงอารการไม่พอใจและจะไม่ชอบ ไม่สนใจเรียนไปเลยก็มี และในปัจจุบันการวัดผล ประเมินผลการเรียนจะใช้การสอบเป็นข้อสอบปรนัยซะมากกว่าจนบางครั้งดูเหมือนว่าจะให้นักเรียนได้ใช้แตความจำ แต่ไม่มีความชำนาญในตรงจุดนั้นเลย การประเมินผลการศึกษาจะมีประสิทธิภาพเพียงใดส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการวัดหรือวิธีวัดด้วย หากว่าไม่มีหลักการวัดแล้ว จะไม่สามารถวัดพฤติกรรมตามที่ต้องการได้ หรือต้องการวัดสิ่งหนึ่งแต่ได้ผลออกมาเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ดังนั้นในการวัดผลที่ดีต้องยึดหลักการวัดผลเบื้องต้น และการศึกษาจะมีคุณภาพสูงหรือต่ำหรือจะคงที่แค่ไหนส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับครู กล่าวคือ ครูได้สอนและวัดผลตรงตามจุดมุ่งหมายกรือไม่


       การสอบ การรวัดผล ประเมินผลไม่ควรจะทำเฉพาะปลายภาค หรือสิ้ปีเพื่อตัดสินการสอบได้หรือตก แล้วก็เลิกรากันไปไม่ได้นำผลนั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น นับว่าเป็นการลงทุนทีไม่คุมค่า ไม่ควรใชการสอยเพื่อการไล่กรือคัดออก แต่ควรเป็นไปเพื่อค้นหาสมรรถภาพของผู้เรียน ครูอย่าสอนเพื่อสอบกหรือสอนให้ตรงกับข้อสอบ เพราะจะกลายเป็นว่าใช้การสอบนำการสอน นำหลักสูตร จึงไม่ควรสอนแบบกวดวิชา ติว เก็ง ข้อสอบ ซึ่งการทำเช่นนั้นจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการศึกษา เป็นการทำลายคนและอนาคตของชาติ เป็นคนที่เห็นแก่ตัว ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
      ครูควรใช้การวัดผล ประเมินผลเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความคิด หรือสติปัญญา ค้นคว้ากาคำตอบและนำไปสู่การปฏิบัติ พยายามอย่าให้การสอบไปทำการสอน เพราะการสอบนั้นเป็นเพียงการวัดสมรรถภาพของผู้เรียนทางอ้อม ผลผลิตของการศึกษาขั้นสุดท้ายคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด และสามารถปฏิบัติได้ อย่าใช้ผลการสอบของนักเรียนแต่ละชั้นไปประเมินผล งานในการพิจารณาความดีความชอบขอครูแตละคน เพราะจะมีผลต่อการเรียนการอสนทำให้การสอบผิดพลาดผิดเป้าหมาย ครูจะหาทางสอนแบบกวดวิชา ช่วยเหลือนักเรียนในการทำข้อสอบ
       ที่สำคัญอย่างยิ่งอย่าให้การวัดผล ประเมินผลการเรียนมาเป็นตัวที่สร้างความกดดันกับตัวนักเรียนเน้นความสำคัยไปใฝนเรื่องผลฟทธ์ทางวิชาการเน้นเรื่องความถูกต้องของข้อมูล และเนื้อหาที่นักเรียนสามารถจะจำได้เพียงเท่านั้น เพราะว่าการทำเช่นนั้นหาใช่บ่งบอกถึงความสามารถว่านักเรียนมีความคิดแสดงความคิดของตนเองว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดอสาการเครียด แล้วอาจผลเกิดผลกระทบออกมาในด้านลบมากมายอย่างที่เคยปรากฎในข่าวที่เคยออกมาว่าเป็นผลมาจากการที่เครียดเรื่องการเรียน
       และที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษากำลังเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่จำเป็นในชีวิตของสังคมที่กำหนด การเปลี่ยนแปลงไม่ควรได้รีบการพิจารณาในลักษณะที่คล้ายคลึงกับความก้าวหน้า นอกเสียจากว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นได้รับการสนับสนุนด้วยข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลย้อนกลับที่เชื่อถือได้จะกลายเป็นกระบวนการเพื่อความก้าวหน้า โดยผ่านการประเมินผล นี่คือพื้นฐานของการศึกษาในอนาคต

มาจาก...

ประภัสร นิยมธรรม และ ศรียา นิยมธรรม. การพัฒนา และการประเมินผล จุดประ
สงค์เชิงพฤติกรรม. กรงเทพฯ : บรรณกิจ , 2518. หน้า 7.
สมนึก ภัททิยธนี. การวัดผลประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่2. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์,
2541. หน้า 16-7.
สำเริง บุญเรืองรัตน์. การปฎิรูปการศึกษา. กรงเทพฯ : ไทยวัฒนาพรนิช, 2520.
หน้า 23.