โครงสร้างของหลักสูตรมัธยมศึกษา

โดย นพรัตน์ สลีอ่อน  - 07 ต.ค. 2544



โครงสร้างของหลักสูตรมัธยมศึกษา


<ม่วง>โครงสร้างของหลักสูตร
1.พื้นฐานการสร้างหลักสูตร
      1.1 วัฒนธรรม
      1.2 สภาพและความต้องการของสังคม
      1.3 ปรัชญาการศึกษา
      1.4 จิตวิทยาการศึกษา
      1.5 วิชาการ
      1.6 สภาพและความต้องการของผู้เรียน

<ม่วง>2.การสร้างหลักสูตร
      2.1การกำหนดวัตถุประสงค์
      2.2การกำหนดและจัดลำดับเนื้อหาวิชา
      2.3วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรม
3.การใช้หลักสูตร
      3.1การเรียนการสอนในโรงเรียน
      3.2การผลิตกำลังคนตามความมุ่งหมายเฉพาะ
      3.3การฝึกอบรมตามความมุ่งหมายเฉพาะ

4.การประเมินผลหลักสูตรประเมินจาก
      4.1ผลผลิตของหลักสูตร
      4.2ข้อคิดเห็นจากปัญหาของผู้ใช้
      4.3ข้อคิดเห็นจากปัญหาสังคม

            <ม่วง>โครงสร้างของหลักสูตรแบ่งออกเป็น 4 ส่วนแต่ละส่วนมีความสำคัญส่งผลถึงส่วนถัดไป พื้นฐานการสร้างหลักสูตรมีความคิด ความเชื่ออย่างไรจะมีผลต่อการสร้างหลักสูตร จะทำให้หลักสูตรออกมาเป็นอย่างนั้นตามความคิด ความเชื่อและความต้องการ เมื่อหลักสูตรออกมาในรูปใดแล้ว การใช้หลักสูตรก็จะดำเนินไปตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ เมื่อกำหนดไปตามแผนที่วางไว้ส่วนสุดท้ายที่สำคัญคือ การประเมินผลหลักสูตร ข้อมูลและผลที่ได้จากการประเมินผลหลักสูตรจะมีผลต่อการสร้าง การแก้ไขปรับปรุง ฉะนั้นหลักสูตรควรมีการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ

โครงสร้างของการศึกษา ประกอบด้วย


            <ม่วง>อุดมการของการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรู้ความคิด ทักษะ และทัศนคติ เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ตนมีส่วนรวม แล้วนำความรู้ความเข้าใจมาใช้แก้ปัญหาและเสริมสร้างชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นโดยกลมกลืนกับธรรมชาติ
            ความมุ่งหมายของการศึกษา เพื่อมุ่งสร้างเสริมคุณภาพของพลเมืองให้สามารถดำเนินชีวิตและทำประโยชน์แก่สังคม โดยเน้นการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความอยู่รอดปลอดภัย ความมั่นคง ความผาสุกในสังคม ความมุ่งหมายการศึกษามีดังนี้คือ
      <ฟ้า>      1.ให้ความเคารพในสิทธิหน้าที่ของตนและผู้อื่น
            2.ให้มีความเข้าใจและความกระตือรือร้นที่มีส่วนร่วมในการปกครอง
            3.ให้มีความรับผิดชอบ
            4.ให้มีความระลึกในการเป็นคนไทย
แนวในการปฏิบัติหรือนโยบายในการศึกษา
            1.ส่งเสริมโอกาสอันเท่าเทียมในการศึกษา ทั้งระบบนอกโรงเรียนและในโรงเรียน
            2.เร่งรัดพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาคทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
            3.จัดให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในส่วนที่เหมาะสม
            4.จัดให้มีการทดลองคิดค้นปรับปรุงเรื่องหนังสือเรียน

วิธีการดำเนินการศึกษา
            วิธีการดำเนินการศึกษานั้นได้เอาระบบการศึกษาของพระพุทธเจ้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในด้านการสอน การคิด การแก้ปัญหา นำเอาอริยสัจสี่มาเป็นวิธีสอนวิธีคิดและแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
โครงการต่าง ๆ ที่จัดทำเพื่อบรรลุผลที่ประสงค์ ได้แก่
      <ม่วง>      Plan ได้แก่การวางแผนการศึกษา เช่นการจัดระบบ 6-3-3 เวลาในการเรียน มีการเปิดเรียนหลายผลัด
            Project ออกมาในรูปหลักสูตรลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
            Program ได้แก่ดารจัดโครงการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่นการศึกษาผู้ใหญ่ โครงการมัธยมแบบประสม


สภาพปัจจุบันและปัญหาก่อนเปลี่ยนโครงสร้าง
      <ม่วง> การกำหนดโครงสร้างของการจัดระบบการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม เป็นไปตามความมุ่งหมายของการศึกษา จำเป็นต้องศึกษาสภาพการณ์และปัญหา อุปสรรคต่างๆที่ทำให้การศึกษาไม่คล่องตัว พอสรุปได้ดังนี้คือ
            1.ระบบการศึกษาปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยปัจจุบัน
และไม่สัมพันธ์กับความต้องการของตลาดแรงงาน ประเทศไทยมีลักษณะสังคมแบบเกษตรกรรม แต่ระบบการศึกษามิได้มุ่งส่งเสริมอาชีพหลักของประชาชนให้เจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้เรียนต้องเรียนต่อไปในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ คนจำนวนมากละทิ้งถิ่นฐานอาชีพเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการศึกษา และมุ่งรับราชการมากว่าการประกอบอาชีพอิสระ

      <ฟ้า>      2.ระบบการศึกษาเป็นระบบปิด ขาดความยืดหยุ่นคล่องตัว การกำหนดขั้นเรียนไว้ตายตัวว่าจะต้องเรียนชั้นประถม 7 ปี มัธยมศึกษา 5 ปีหรือ 6 ปี โดยไม่เปิดโอกาสให้เรียนได้เร็วกว่านี้ เป็นการกักเก็บบุคคลไว้ในระบบโรงเรียนนานเกินไป ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเข้าหรือออกจากโรงเรียนหรือโยกย้ายสถานที่เรียนได้ตามความจำเป็นของชีวิตโดยไม่ต้องเสียเวลา
            3.การจัดระบบการศึกษาที่เป็นมา ไม่คำนึงถึงวัยและระดับพัฒนาการของผู้เรียน การกำหนดชั้นประถมศึกษาไว้ 7 ปี และเด็กเริ่มเข้าเรียนเมื่อ 7 ปีบริบูรณ์ ทำให้เด็กประถมศึกษามีเด็ก 2วัยอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน คือวัยแท้กับวัยรุ่น ซึ่งทำการยุ่งยากต่อการเรียนการสอนและการบริหารมาก ดังนั้นการแก้ไขต้องคำนึงถึงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้การแยกเป็นโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิงในระดับมัธยมศึกษายังขัดธรรมชาติต่อเด็กวัยรุ่น ซึ่งต้องการคบหาสมาคมกับเพื่อนต่างเพศ การจัดระบบที่ไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนนี้มีส่วนทำให้นักเรียนวัยรุ่นแสดงออกในทางที่ไม่ควร


<ม่วง>หลักการและสาระสำคัญของการเปลี่ยนโครงสร้าง


            เพื่อให้ระบบการศึกษาสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม และสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศควรมีหลักการและสาระสำคัญของการเปลี่ยนโครงสร้างดังนี้
      <ฟ้า>      1.จัดการศึกษาให้เป็นระบบเปิด มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ให้บุคคลมีโอกาสและเสรีภาพเข้าและออกจากระบบโรงเรียนได้ตามความสามารถและความจำเป็นส่วนบุคคลเพื่อให้ระบบการศึกษามีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น
            2.จัดระดับการศึกษาเป็น 4 ระดับ คือการศึกษาก่อนภาคบังคับระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
                  <ม่วง>      2.1การศึกษาก่อนภาคบังคับ ได้แก่การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีความพร้อมทางร่างกาย ทางสังคมและพร้อมที่รับการศึกษาภาคบังคับต่อไปโดยเน้นให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี และได้รับความอบอุ่นทางใจโดยมิได้มุ่งให้เรียนรู้ทางวิชาการเร็วเกินวัย
                        2.2ระดับประถมศึกษา การศึกษาระดับนี้เป็นการศึกษาภาคบังคับ เพื่อสนองความต้องการของการของบุคคล ท้องถิ่น และประเทศชาติ ผู้ที่เริ่มเข้าเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ คือผู้ที่มีอายุระหว่าง 6 ปีบริบูรณ์จนถึง 8 ปีบริบูรณ์ ควรให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งกำหนดอายุเข้าเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับให้เหมาะสมกับเด็กในท้องถิ่น แต่ไม่ต้องบังคับให้เข้าเรียนก่อน 6 ปีบริบูรณ์ และต้องไม่ช้ากว่า 8 ปีบริบูรณ์

             2.3 ระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อให้เด็กวัยรุ่นนี้ค้นพบความสามารถและความถนัดเฉพาะตน โดยจัดให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการและความถนัดของตนและเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ การศึกษาระดับมัธยมไม่ควรแยกสาย แต่ให้นักเรียนได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาและประสบการณ์ต่าง ๆตามความถนัดและความสนใจ ไม่มีการแบ่งประเภทการศึกษาระดับมัธยมออกเป็น สายสามัญและสายอาชีพ และไม่กำหนดอายุผู้เรียนตายตัว
             2.4 ระดับอุดมศึกษา การศึกษาระดับนี้มุ่งส่งเสริมด้านวิชาการและวิชาชีพระดับสูงเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นและรัฐ และเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ การศึกษาระดับอุดมศึกษานี้นับตั่งแต่จบการศึกษระดับมัธยมศึกษาเป็นต้น์

            การจัดการเรียนระดับประถมศึกษาใช้เวลาประมาณ 6 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการของเด็ก และเพื่อจัดการศึกษาภาคบังคับ ได้ทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการ กำลังคน และทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่วนการแบ่งมัธยมศึกษาออกเป็น 2 ตอน ตอนละประมาณ 3 ปีนั้น เพื่อจัดให้การศึกษาแต่ละตอนเหมาะสมกับพัฒนาการของวัย ประสบการณ์ของผู้เรียน
      การจัดระบบโรงเรียนเป็นแบบ 6 : 3 : 3 ให้มีแนวปฏิบัติดังนี้
      <ม่วง>      4.1ระดับประถมศึกษา ใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี เกณฑ์อายุผู้เรียนอยู่ระหว่าง 6-11ปี ผู้เรียนอาจจบเร็วหรือช้ากว่า 6 ปีก็ได้ แต่ระยะเวลาการศึกษาในระดับประถมศึกษาไม่ควรน้อยกว่า 5 ปีเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
            4.2ระดับมัธยมศึกษา แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เวลาศึกษาประมาณ 3 ปี โดยจัดประสบการณ์สำหรับผู้มีอายุระหว่าง 12-14 ปี มัธยมตอนปลายใช้เวลาศึกษาประมาณ 3 ปี จัดระดับประสบการณ์ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-17 ปี ผู้เรียนสามารถเรียนเร็วหรือช้ากว่ากำหนดก็ได้ จะไม่จำกัดอายุผู้เข้าเรียน


<ม่วง>โครงสร้าง (มัธยมศึกษาตอนต้น)


1.วิชาบังคับ จำนวน 57 หน่วยการเรียน ได้แก่รายวิชาดังต่อไปนี้
      1.1วิชาบังคับ จำนวน 39 หน่วยการเรียน หน่วยการเรียน      
            1.1.1 ภาษาไทย             12 หน่วยการเรียน
            1.1.2 วิทยาศาสตร์        9 หน่วยการเรียน
            1.1.3 คณิตศาสตร์        6 หน่วยการเรียน
            1.1.4 สังคมศึกษา       6 หน่วยการเรียน
            1.1.5 พลานามัย 3 หน่วยการเรียน
             1.1.6 ศิลปศึกษา 3 หน่วยการเรียน
       1.2 วิชาบังคับเลือก จำนวน 18 หน่วยการเรียน
            2. 1 สังคมศึกษา            6 หน่วยการเรียน
            1.2.2พลานามัย            6 หน่วยการเรียน
            1.2.3 การงาน            6 หน่วยการเรียน

2. วิชาเลือกเสรี จำนวน 33 หน่วยการเรียนให้เลือกจากรายวิชาในกลุ่มวิชาต่าง ๆ ต่อไปนี้
      2.1 กลุ่มวิชาภาษา
             - ภาษาไทย
            - ภาษาต่างประเทศ      
      2.2 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
             - วิทยาศาสตร์
            - คณิตศาสตร์
      2.3 กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
      2.4 กลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพ
            - พลานามัย
            - ศิลปศึกษา
      2.5กลุ่มวิชาการงาน
            - อาชีพ

3. กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมดังต่อไปนี้
      3.1กิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษา ว่าด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
            3.1.1กิจกรรมลูกเสือ – เนตรนารี หรือยุวกาชาด หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์จำนวน 1 คาบ ต่อสัปดาห์ต่อภาค
            3.1.2กิจกรรมอื่น ๆ จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
      3.2กิจกรรมแนะแนว หรือกิจกรรมแก้ปัญหา หรือกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
       3.3กิจกรรมอิสระของผู้เรียน จำนวน 2 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค


<ม่วง>โครงสร้าง (มัธยมศึกษาตอนปลาย)


1.วิชาบังคับ จำนวน 30 หน่วยการเรียน ได้แก่รายวิชาดังต่อไปนี้
      1.1 วิชาบังคับแกน จำนวน 15 หน่วยการเรียน
                  1.1.1 ภาษาไทย             6 หน่วยการเรียน
                  1.1.2 วิทยาศาสตร์       9 หน่วยการเรียน
                  1.1.3 คณิตศาสตร์       6 หน่วยการเรียน
                  1.1.4 สังคมศึกษา       6 หน่วยการเรียน
                  1.1.5 พลานามัย             3 หน่วยการเรียน
                  1.1.6 ศิลปศึกษา             3 หน่วยการเรียน
      1.2 วิชาบังคับเลือก จำนวน 15 หน่วยการเรียน
                  1.2.1 สังคมศึกษา       6 หน่วยการเรียน
                  1.2.2 พลานามัย             3 หน่วยการเรียน
                  1.2.3 วิทยาศาสตร์       6 หน่วยการเรียน
                  1.2.4 พื้นฐานวิชาอาชีพ       6 หน่วยการเรียน

<ฟ้า>2.วิชาเลือกเสรี เลือกเรียนอย่างน้อยจำนวน 45 หน่วยการเรียนให้เลือกจากรายวิชา ในกลุ่มวิชาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
      2.1กลุ่มวิชาภาษา
             - ภาษาไทย
            - ภาษาต่างประเทศ
      2.2กลุ่มวิชาสังคมศึกษา
      2.3กลุ่มวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ
            -พลานามัย
            -ศิลป
      2.4กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
            -วิทยาศาสตร์
            -คณิตศาสตร์
      2.5 กลุ่มวิชาอาชีพ
<ม่วง>3.กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมต่อไปนี้
       3.1 กิจกรรมตามระเบียบ กระทรวงศึกษา ว่าด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2532 จำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ต่อภาค
       3.2กิจกรรมแนะแนว หรือกิจกรรมแก้ปัญหา หรือกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 1 คาบ ต่อสัปดาห์ต่อภาค
      3.3กิจกรรมอิสระของผู้เรียน

หนังสืออ้างอิง


      สุรพล อินทร์แหยม , หลัก, หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา, ราชบุรี : สถาบันราชภัฏหมู่ บ้านจอมบึง.
      อรสา ปราชญ์นคร , หลักสูตรและแบบเรียนมัธยมศึกษา , กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช , 2525