ประเภทของสื่อตามลักษณะของการนำไปใช้

โดย พรวดี ศรีวิชัยแก้ว  - 06 ต.ค. 2544


      อีริคสันและเคริรล์ ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนในแง่ของการนำไปใช้เป็น 2 ประเภท

       1.สื่อทัศนที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ ของจริง การศึกษานอกสถานที่ หุ่นจำลอง หุ่นล้อแบบ สถานการณ์จำลอง วัสดุกราฟฟิค ป้ายนิเทศและนิทรรศการ แผ่นป้ายสำลีและกระเป๋าผนัง
      2.สื่อที่ต้องฉายและสื่ออีเล็กทรอนิคส์ ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพนิ่งที่ต้องฉาย การบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ

      หลักการทั่วไปในการใช้สื่อประกอบการเรียน

เพื่อให้การใช้สื่อประกอบการสอนเป็นไปอย่างราบรื่นสร้างความพอใจให้แก่ผู้เรียนและเกีดประสิธิผลต่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริงผู้สอนควรพิจารณาหลักในการใช้สื่อดังนี้

1.สื่อการสอนที่นำมาใช้ จะต้องเข้ากับเรื่องราวที่กำลังบรรยายอยู่จริง
2.ควรปรับสื่อให้เหมาะกับความสนใจประสบการณ์ และระดับสติปัญญาของผู้เรียน
3.ประมาณเวลาที่ใช้ในการสอนให้เหมาะสมพอดีอย่างแน่นอน
4.สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ต้องมีขนาดใหญ่พอที่ผู้เรียนทุกคนจะเห็นได้ชัดเจน
5.ตัวอักษรที่ใช้ประกอบสื่อควรมีขนาดใหญ่อ่านง่าย และชัดเจน
6.อย่าปล่อยให้ผู้เรียนต้องรอคอยการบรรยายนานเกินไปโดยที่ผู้สอนมัวเตรียมสื่ออยู่เพราะผู้เรียนอาจจะเสียความตั้งไปแล้ว
7.อุปกรณ์ประกอบการใช้สื่อจะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าใหเรียนร้อย

      ตัวอย่างอุปกรณ์และการสร้างสื่อประกอบการเรียนการสอน

<ม่วง> ลูกคิดจำแนกสีและรูปทรง



ลักษณะสำคัญ


      ทำด้วยกระดาษลูกฟูกซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เสาหลักทำด้วยลวด ชิ้นส่วนรูปทรงทำด้วยกระดาษลูกฟูกด้วยเช่นเดียวกัน หุ้มด้วยโปสเตอร์สี
      

วิธีใช้



      ใช้สอนการจำแนกรูปทรงและสีสันต่าง ๆ ใช้ฝึกการจับคู่สัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตใช้ฝึกการนับจำนวน 1-10 ฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา


ต่อภาพเสริมปัญญา


ลักษณะสำคัญ


-เป็นแผงทำด้วยกระดาษลูกฟูก มี2ส่วน คือส่วนที่เป็นแผ่นรองและส่วนที่เป็นชิ้นส่วน ซึ่งเมื่อนำมาเรียงกันแล้วจะได้ภาพที่สมบูรณ์

วิธีใช้



      ให้อ่านภาพโดยให้จับคู่ความสัมพันธ์จากด้านหลังของชิ้นส่วนภาพและฐานรองภาพที่ถูกต้องสมบูรณ์
คุณค่าทางการศึกษา
-ส่งเสริมควมพร้อมในการสังเกตุและการจำแนกความเหมือนความต่าง พัฒนาความพร้อมทางภาษา ในการเล่าขยายประลพการณ์จากภาพ


กล่องภาพมายา


ลักษณะสำคัญ


เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรกเป็นส่วนฐานมีมุมหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมเว้าลึกเข้าไป มีช่องแสงผ่านส่วนที่ 2 เป็กล้องจอภาพด้านบนและด้านล่างปิดทึบแสงและด้านข้างก็ทึบแสงแต่มีรูเพื่อให้แสงผ่านได้ ตำแหน่งตรงกับช่องแสงของฐาน ส่วนด้านประชิดอีกคู่หนึ่งปิดด้วยแผ่นไม้ชนิดหนา ภายในบรรจุรูปทรงสามมิติ

วิธีใช้



      -วางกล่องจอภาพบนกล่องฐาน โดยให้ส่วนที่เป็นช่องแสงผ่าอยู่ด้านใน เปิดสวิตซ์ไฟที่กล่องฐาน แสงไฟจะส่องผ่านรูปทรงภายในและทอดเงามายังจอภาพทั้ง2ด้าน ทำให้ผู้เรียนทราบว่ารูปทรงสานมิติในกล่องนั้นมีรูปทรงใดขาดประเภทใดโดยดูจากช่อแสงผ่านของกล้องจอภาพ


อ้างอิง



      จันทร์ฉาย เตมิยาคาร. เชียงใหม่:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2525
      โครงการพัฒณาคุณภาพการประถมศึกษา.ทำเนียบสื่อสร้างสรรค์ จากศูนย์วิชาการ คพศ.