ภาพโปสเตอร์

โดย สิรินทรา ดวงคำ  - 06 ต.ค. 2544


       โปสเตอร์นับว่าเป็นทัศนะวัสดุที่สร้างขึ้นด้วยการชักชวน จูงใจ สร้างความประทับใจให้เกิดความประทับใจ ให้เกิดความเชื่อ ศรัทธาและนำไปสู่การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาต่อไป
       ส่วนเนื้อหาที่เหมาะสมกับภาพโปสเตอร์ ก็ควรเป็นเนื้อหาที่ต้องการกระตุ้นเร้าใจให้ปฏิบัติตาม การแจ้งข่าวสาร การย้ำเตือนความจำ การแนะนำ เชิญชวน เป็นต้น

       ลักษณะของภาพโปสเตอร์ที่ดีเราสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้นะคะ
       1. รูปแบบต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
       2. มีลักษณะ เด่นชัด มองเห็นสะดุดตา
       3. ข้อความนั้นต้องสั้น กระชับได้ใจความ
       4. รูปภาพเร้าความสนใจ ชวนติดตาม
       5. มีการสื่อความหมายได้ตามวัตถุประสงค์
       6. แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์
       7. มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล
       8. ในเรื่องการนำเสนอต้องมีข้อมูลเพียงเรื่องเดียวและที่สำคัญตรงประเด็น



ในเรื่องของวิธีการจัดทำภาพโปสเตอร์ก็มีหลักการดังนี้
      1. ควรจะเป็นภาพง่าย ๆ ไม่ควรมีรายละเอียดมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ผู้ดูจำข้อมูลได้ยาก
      2 . หลังจากนั้นก็เริ่มจากการสเก็ดหลาย ๆ แบบ และเลือกแบบที่ดีที่สุดไว้ เราควรจะเลือกภาพเล็ก ๆ เพื่อเลือกไว้ ขยายให้ เป็นภาพโปสเตอร์ขนาดใหญ่ต่อไป
      3. ต้องสื่อความหมายได้ชัดเจนและสะดุดตา ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้ดูรับรู้ได้ดี ดังนั้นภาพโปสเตอร์จึงควรมีสีสรรค์สวยงามและพิถีพิถันในการออกแบบ
      4. เราอาจใช้ภาพอักษรหรือทัศนะวัสดุ จากสื่ออื่นมาประกอบได้ ตัวอย่างเช่น ภาพโปสเตอร์ อาจเป็นภาพซ้ำกับแผนภูมิ จุลสาร แผ่นพับ แต่อาจเป็นการขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและให้สีสรรค์สวยงามมากขึ้น

<กลางหน้า>


ลักษณะของภาพโปสเตอร์แบบต่าง ๆ


.      1. โปสเตอร์เพื่อการโฆษณา เป็นโปสเตอร์ที่มุ่งกระตุ้น ชักจูงให้กลุ่มเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ของผู้โฆษณา เช่น การชื้อสินค้าและการให้บริการ

      รูปแบบของโปสเตอร์และขั้นตอนการโฆษณา
              1.1. ขั้นการบุกตลาด (Pioneering Stage) เป็นขั้นของการโฆษณาสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเป็นขั้นแรก รูปแบบของโปสเตอร์ควรสร้างความเชื่อถือและยอมรับโดยการให้รายละเอียดของข้อมูลใหม่แนะนำให้ผู้บริโภคได้รู้จัก เห็นคุณค่าประโยชน์ในการบริโภคสินค้าหรือบริการใหม่ของเรา
              1.2 ขั้นการแข่งขัน (Competitive Stage) เป็นขั้นแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดให้มากที่สุด รูปแบบของโปสเตอร์ เน้นเปรียบเทียบความแตกต่างชี้ให้เห็นคุณภาพ คุณสมบัติที่เด่นกว่า ดีกว่าคู่แข่งขัน
              1.3 ขั้นรักษาตลาด (Retentive Stage) เป็นขั้นการตอกย้ำเตือนความจำให้ผู้บริโภคติดตาตรึงใจในสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ
       2.ภาพโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์
              เป็นโปสเตอร์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์ ทัศนคติที่ดี ความเชื่อถือ และยอมรับในองค์การ นอกจากนี้เป็นสิ่งที่ให้ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื้อหาสาระและกิจกรรมของการประชาสัมพันธ์ต้องอาศัยความติอเนื่องอย่างเป็นระยะยาว โดยหวังผลทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เช่น การแนะนำ การเชิญชวนให้บริการ
และมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การวางแผนครอบครัว การปลูกป่า การรักษาความสะอาด การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมเป็นต้น ข้อความคำพุดไม่เน้นการปลุกเร้า ความเชื่อ แต่จะให้เห็นความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และสาธารณชน


ลักษณะของโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์อาจแบ่งแยกได้ดังนี้นะคะ


       1. เป็นข้อมูลข่าวสารที่เป็นเหตุผลถูกต้อง และเป็นจริง
      2. ต้องนำเสนอจุดเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
      3. เสนอขั้นตอนหรือกระบวนการในการผลิตหรือกระบวนการผลิตหรือดำเนินการ
       4. ควรเสนอแนะแหล่งข้อมูลในการค้นหาเพิ่มเติม
       5. ในเรื่องของรูปแบบนั้นต้องน่าศรัทธาเชื่อถือ


เทคนิคการนำเสนอภาพโปสเตอร์มีดังหัวข้อต่อไปนี้


       1. ติดตั้งในพื้นที่ที่มองเห็นเด่นชัด
       2. รูปแบบ วัสดุควรนำเสนอให้สอดคล้องกับเนื้อหาและระยะเวลา
      3. ไม่ควรติดภาพโฆษณาไว้นานเกินไปจนกลายเป็นความชินชา
       4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการผลิตและการใช้
       5. ควรใช้ภาพโฆษณาควบคู่ไปกับกิจกรรมการรณรงค์ต่าง ๆ


ในตัวผู้สอนหรือว่าครูก็สามารถนำภาพโฆษณามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้


เช่น
       1. เพื่อเป็นการประกาศหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งต้องการให้นักเรียนทราบ หรือเป็นการบอกว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และสุดท้าย เป็นอย่างไร
       2. ใช้เร้าความสนใจหรืออาจจะเป็นการจูงใจให้นักเรียนสนใจในบทเรียนนั้น ๆ
       3. ใช้เป็นเครื่องเตือนใจ หรือเน้นในสิ่งที่ตัวผู้สอนให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญในสิ่งนั้นดังตัวอย่างเช่น ภาพโฆษณาเตือนเกี่ยวกับอันตรายอันเกิดจากการใช้เครื่องมือทดลองในห้องวิทยาศาสตร์
       4. ใช้สร้างบรรยากาศให้แก่สถานที่บางแห่งในโรงเรียน เช่น ห้องอาหาร ห้องน้ำ ห้องพุทธศาสตร์
       5. ใช้ส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมมือกันทำงาน หรือว่าให้ตัวผู้เรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
       6. ใช้สนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




ที่มา ;ณรงค์ สมพงษ์ . สื่อเพื่องานเผยแพร่. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพ
ฯ ,2535
วารินทร ์ รัศมีพรหม . สื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย.ภาควิชาเทคโนโลยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครินทร์วิโรฒประสานมิตร,2531.
วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. เทคโนโลชยีการศึกษา. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมปิง ราชบุรี, 2542.