Chalkboard Material

โดย ศักดิ์ปริญญา ทำนา  - 01 ต.ค. 2544



Educational Media for Learning


Chalkboard Material



กระดานชอล์กเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทแผ่นป้ายที่ผู้สอนคุ้นเคยมากที่สุด จนเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนซึ่งขาดเสียมิได้ มนุษย์รู้จักใช้สื่อประเภทนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณโดยใช้ผนังถำเพื่อสื่อความหมายโดยใช้ภาพลายเส้นต่างๆและต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักจัดการศึกษาให้เป็นระบบโดยจัดให้มีหลักสูตรสถานศึกษาและบุคลากรอื่นๆ จึงดัดแปลงผนังถำมาเป็นกระดานติดฝาผนัง ทาด้วยสีดำหรือสีเทา ซึ่งปรากฏครั้งแรกในหนังสือ ออบิส พิคตุส ของคอมินิอุส และต่อมาเห็นว่าสีดำของกระดานตัดกับสีขาวของชอล์กทำให้ผู้เรียนใช้สายตามากเกินความจำเป็นจึงพัฒนาสีเขียวแทนสีดำ สีเขียวเป็นสีที่รักษาสายตาของผู้เรียนเอง จึงเรียกว่ากระดานชอล์ก ถึงแม้ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีจะเจริญก้าวหน้าไปมากแม้กระทั่งการนำสื่อมาใช้อย่างกว้างขวางแต่กระดานชอล์กก็ยังมีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนอยู่มากทีเดียวเนื่องจากกระดานชอล์กมีคุณสมบัติดังนี้
1.สามารถเขียนและลบได้สะดวก
2.ใช้ได้ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่
3.ผู้เรียนสามารถมองเห้นได้พร้อมกัน
4.ใช้เสนอเรื่องราวหรือเนื้อหาได้ทันที
5.ใช้งานได้คงทนถาวรเสียหายได้ยาก
6.ใช้ได้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
7.ประหยัดค่าใช้จ่าย

ชนิดของกระดานชอล์ก


1.ชนิดติดฝาผนังหรือติดตั้งประจำห้องเรียน
2.ชนิดมีขาตั้งหรือขาหยั่ง
3.ชนิดม้วนได้มีนำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะทำจากกระดาษกับผ้าดิบแล้วนำมาทาสีที่ใช้ทากระดานชอล์ก กระดานชอลืกที่ม้วนได้เหมาะกับการเรียนการสอนนอกห้องเรียนสามารถเตรียมเขียนหรือวาดภาพได้ล่วงหน้าเพื่อประหยัดเวลาในการสอนและสร้างความมั่นใจแก่ผู้สอนมากยิ่งขึ้น

.

หลักการใช้กระดานชอล์ก


เพื่อให้บังเกิดผลดีต่อการเรียนการสอน ผู้สอนควรได้ศึกษาและพิถีพิถันเกี่ยวกับการใช้กระดานชอล์กให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อผู้เรียน สามารถดึงดูดและรวมความสนใจของผู้เรียนเป็นอย่างดี กระดานชอล์กมิใช่เป้นที่ลอกเนื้อหาวิชาของผู้เรียนและไม่ใช่เป็นสื่อที่จะสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ทุกอย่าง แต่กระดานชอล์กจะเป็นจุดรวมความสนใจของผู้เรียน ผู้สอนอาศัยหลักการใช้ดังนี้
1.กระดานชอล์กที่มีความยาวมากๆควรแบ่งเป็นส่วนๆ
2.เริ่มเขียนจากด้านช้ายบนของกระดานชอล์ก ไม่ควรเขียนข้อความมากเกินไป อาจเขียนเฉพาะข้อความที่สำคัญ
3.ตรวจสอบความถูกต้องหลังการเขียนทุกครั้ง
4.ใช้ไม้ชี้ข้อความบนกระดานเพื่อจะได้ไม่บังนักเรียน
5.การเขียนข้อความหรือวาดภาพควรให้มืขนาดโตพอที่นักเรียนทุกคนจะเห็นได้ชัด
6.การเน้นคำหรือข้อความควรขีดเส้นใต้
7.สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสิ่งที่กล่าวถึงควรลบออก เพราะจะทำให้นักเรียนสับสน
8.การลบกระดานชอล์ก ควรลบด้วยแปรงลบกระดานไม่ควรลบด้วยมือ และควรลบจากบนลงล่าง
9. ในการวาดภาพบางครั้งต้องใช้ความประณีต สวยงาม เรียบร้อย ดังนั้นผู้ใช้ควรใช้วิธีการดังต่อไปนี้

- ใช้ภาพแม่แบบ ที่ทำจากโลหะหรือกระดาษแข็ง
- ร่างแบบใช้วาดภาพขนาดใหญ่หรือแผนที่ทำจากกระดาษสีนำตาลที่นิยมใช้ห่อปกหนังสือแล้วนำมาขยายหรือวาดภาพตามที่ต้องการลงบนกระดาษสีนำตาลจากนั้นเจาะรูตามเส้นของภาพ โดยให้แต่ละภาพห่างกันประมาณ 1 นิ้ว เวลานำมาใช้ก็ทาบร่างแบบนี้บนกระดานชอล์กแล้วใช้แปรงลบกระดานที่มีฝุ่นชอล์กติดอยู่ตบไปตามรูปภาพทั้งภาพ เมื่อนำร่างแบบออกฝุ่นชอล์กจะปรากฏบนกระดานเป็นรูปร่างจากนั้นใช้ชอล์กลากเส้นตามจุด จะได้ภาพหรือแผนภาพตามที่ต้องการ

สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้กระดานชอล์ก


1.ผู้เรียนจะมองเห็นสิ่งต่างๆบนกระดานชอล์กได้ชัดเจนทุกคนต่อเมื่อนั่งอยู่ในบริเวณ 60 องศา โดยวัดจากจุดกึ่งกลางของกระดาน
2.ผู้เรียนที่อยู่แถวหน้าสุดควรห่างกระดานชอล์กประมาาณ 3 เช็นติเมตร
3.สิ่งที่ผู้สอนเขียนหรือวาดบนกระดานชอล์กไม่ควรอยู่ตำกว่าระดับสายตาของผู้เรียน
4.ในการใช้กระดานชอล์กแต่ละครั้งควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
5.ตรวจดูแสงสว่างในห้องเรียนว่าเพียงพอหรือไม่ พึงระวังแสงสะท้อนของกระดานชอล์กที่จะกระทบต่อการมองเห็นของผู้เรียน

วาสนา ชาวหา. สื่อการเรียนการสอน( กรุงเทพ: โรงพิมพ์โอเอสปริ้นติ้งเฮ้าส์ 2533) หน้า 42 - 45 .


ศักดิ์ปริญญา ทำนา : เรียบเรียง