filmstrips

โดย นฤมล ขันทะสีมา  - 07 ส.ค. 2544




ฟิล์มสตริป มี 2 ชนิด คือ 1. single frame filmstrip 2. double frame filmstrip ซึ่ง single frame filmestrip เป็นชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ประกอบด้วยขนาด 18 x 24 มม. ส่วน double frame filmstrip มีลักษณะเช่นเดียวกับฟิล์มสไลด์ขนาด 2 x 2 นิ้ว หรือ 24 x 36 มม.
ข้อแตกต่างของฟิล์มสตริปและฟิล์มสไลด์
ฟิล์มสตริปไม่เหมือนฟิล์มสไลด์ตรงที่ฟิล์มสตริปมีขนาดภาพหนึ่งๆ เล็กกว่าขนาดของภาพของสไลด์ 35 มม. ครึ่งหนึ่ง และภาพที่ปรากฏอยู่บนฟิล์มสตริปถูกลำดับเรื่องราวติดต่อกันตั้งแต่เริมต้นจนจบเรื่อง ติดต่อกันเป็นม้วนยาว แต่ขณะฉายปรากฏภาพบนจอภาพไปตามลำดับ

<ม่วง> แนวทางที่จัดเตรียมฟิล์มสริปมีดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ ให้สำพันธ์กับเนื้อหาและสื่อที่จะใช้แล้วหรือยัง
2 ฟิล์มนี้จะนำไปใช้กับผู้เรียนระดับใด
3. ต้องจัดทำ content outline treatment และ storyboard หรือไม่
4. ฟิล์มสตริปจะเป็นสื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหานี้มากกว่าสื่อชนิดอื่นไหม
5. จำเป้นต้องเขียนสคริปต์และ specifications หรือไม่
6. ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือไม่
ชนิดของฟิล์มสตริป
1. ฟิล์มสตริปเงียบ (silent filmstrip ) เป็นฟิล์มสตริปที่มีคำบรรยายภาพ
เวลาฉาย เด็กสามารถอ่านคำบรรยายจากฟิล์มได้
2 ฟิล์มสตริปเสียง (sound filmstrip) เป็นฟิล์มสตริปที่มีภาพส่วน คำบรรยายมักบรรทึกลงบนเทปบันทึกเสียง เวลาฉายก็เปิดเสียงประกอบกับภาพ
ครูอาจทำฟิล์มสตริปประกอบการสอนตนเองได้หลายวิธี วิธีที่ได้ผลดีก็คือทำบทเรียนที่จะถ่ายทำเป็นฟิล์มสตริปเขียนเป็นภาพและคำบรรยายประกอบเสียงตามลำดับเนื้อหา แล้วนำมาถ่ายซำ ( copy ) ด้วยฟิล์ม positive สีหรือขาวดำตามต้องการ อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้คือ นำกล้องถ่ายรูปไปบรรทึกภาพต่างๆ ที่ต้องการให้เรียงลำดับติดต่อกัน ฟิล์มสตริปแบบนี้ควรบรรทึกเสียงบรรยายลงบนเทปบันทึกเสียงประกอบขณะฉาย จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ดีขึ้น สำหรับเครื่องฉายฟิล์ม
สตริบมีระบบการฉายแบบเดียวกับเครื่องฉายสไลด์ บางเครื่องอาจรวมอยู่กับเครื่องฉายสไลด์ เวลาครูจะใช้เครื่องแบบนี้ฉายฟิล์สตริป ก็ใช้กลักใส่ฟิล์มสำหรับฟิล์มสตริป ถ้าจะฉายสไลด์ก็เปลี่ยนกลักใส่ฟิล์มสำหรับสไลด์ซึ่งมีมากกับเครื่อง เครื่องฉายที่ใช้ฉายได้ทั้ง สไลด์ และฟิล์มสตริป นี้เรียกว่าเครื่องฉายแบบประสม ( combination projector ) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ครุสามารถนำสไลด์และฟิล์มสตริป
มาใช้ในการสอนได้โดยไม่ต้องลงทุนสูง และการนำไปใช้ได้ไม่ยาก

<ม่วง> การสอนด้วยฟิล์มสตริป
1. เตรียมตัวครู ครูจะต้องศึกษาเนื้อหาของฟิล์มสตริปก่อนนำไปใช้สอน โดยพิจารณาเลือกฟิล์มตามจุดมุ่งหมาย
2. เตรียมสถานที่และนักเรียน โดยบอกถึกจุดมุ่งหมาย และเนื้อหาเรื่องย่อ
3. วางแผนจากการศึกษาฟิล์มสตริปร่วมกับนักเรียน ให้นักเรียนได้ทราบเนื้อหาในฟิล์มจะสัมพันธ์กับบทเรียนอย่างไร
4. ให้นักเรียนจำสิ่งสำคัญ และปัญหา แล้วช่วยกันอภิปราย
5 . ให้นักเรนียนมีส่วนร่วมในขณะที่ฉาย เช่น ช่วยฉาย อธิบาย และซักถาม
6. ควรฉายภาพแต่ละภาพให้ชัดเจน และปล่อยให้นักเรียนมีเวลาอ่านชื่อเรื่อง คำบรรยาย ควรตระหนักว่าครูได้ดูฟิล์มนี้มาก่อน แต่นักเรียนยังไม่ได้ดู ถ้าจะให้นักเรียนสนใจ ครูควรอ่านคำบรรยายให้นักเรียนฟังอย่างชัดเจน

ที่มา: กิดานันท์ มลิทอง. เทคโฯดลยีร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: เอดิสัน เพรส 2536.