Radio programme

โดย นงพงา แก้วมาเรือน  - 08 ส.ค. 2544



ประเภทของรายการวิทยุกระจายเสียง
มีการแบ่งเอาไว้แตกต่างกันไปตามจุดมุ่งหมาย เช่น
1 รายการพูดคุย (Talk Programme ) เป้นรายกาารที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังได้อรรถรสจากการฟัง การพูดคุยเพียงอย่างเดียวแบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.1 รายการพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง ( The Straight Talk) เป็นรายการที่ผู้จัดพุด
คุยกับผู้ฟังอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายมากที่สุดเนื้อหามีความยืดยุ่นได้มาก ลีลาการพูดน้ำเสียงและสำนวนการพูดเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้จัดรายการเอง เนื้อหาของรายการอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. เรื่องที่พุดคุยได้ง่าย ( Speakable Talk ) มักเป็นเรื่องที่พูดประสบมาด้วยตัวเอง
2. เรื่องที่พูดคุยได้ยาก ( Unspeakable Talk ) เป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่เคยเห็นหรือได้ยินมาก่อน
2 รายการสัมภาษณ์ ( The Interview ) รายการสัมภาษณ์เป็นรายการซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป พูดคุยออกอากาศ เพื่อถ่ายทอดแนวความคิดความรู้ และข่าวสารโดยเสียงของผู้ร่วมรายการ สู่ผู้ฟังโดยตรง
ประเภทของการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์บุคคลผู้รู้เรื่องดี เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในเรื่องราวข่าวสาร
2. การสัมภาษณ์บุคคลสำคุญ เป็นการสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ในความสนใจของผู้ฟัง
3. การสัมภาษณ์เชิงสารคดี มุ่งเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นที่สนใจตามอารมณ์มนุษย์
4. การสัมภาษณ์กลุม เป็นการสัมภาษณ์บุคคลที่เก่ยวข้องในเรื่องเกียวกัน
5. การสัมภาษณืคนสามัญเดินถนน เป็นการสัมภาษณ์ที่ต้องการทราบความคิดเห็นหรือปฎิกิริยาของประชาชนธรรมดา ในปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
วิธีการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์ออกอากาศโดยตรง ต้องระมัดระวังมาก ผิดพลาดไม่ได้ จึงไม่ค่อยนิยมทำกัน
2. การสัมภาษณืโดยการใช้เครื่องบันทึกเสียง เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดสามารถตรวจสอบเงื่อนไขข้อบกพร่องได้
3. การสัทภาษณ์ทางโทรศัพท์ นิยมทำกันมากนัก นอกจากเป็รเรื่องเร่งด่วน เพราะคุณภาพของเสียงจะไม่ดี
รุปแบบของการสัมภาษณ์
1. แบบเป็นทางการ ผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์มีการตกลงในหัวข้อคำถามและนัดหมายกันล่วงหน้าบางงครั้งก็มีการเตรียมบทถามตอบไว้เรีบร้อยก่อนการสัทภาษณ์
2. แบบไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่มีการตกลงในหัวข้อเรื่อง หรือคำถามมาก่อนจะให้ความเป็นธรรมชาติของการพูดคุยเป็นที่น่าสนใจ แต่เนื้อหาย่อมมีการผิดพลาดได้ง่าย จึงใช้เป็นข้อมูลในการอ้างอิงไม่ได้นิยมใช้ถามในเรื่องทั่ว ๆ ไป
3. แบบกึ่งเป็นทางงการ เป็นการนำเอาข้อได้เปรียบของการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการกับไม่เป็นทางการมาประยุกต์ร่วมกัน คือ ผู้ใช้สัทภาษณ์และผู้สัมภาษณ์ จะตกลงกันในประเด็นของการสัมภาษณ์ โดยไม่ถึงกับตั้งเป็นหัวข้อคำถาม หรือเตรียยมบทถามตอบ ผู้ให้สีมภาษณ์มาโอกาสที่จะค้นข้อมูลในประเด็นที่จะให้สัมภาษณ์
การเสนอารายการสัมภาษณ์
1. เสนอเป็นรายการสัมภาษณ์ตลอดทั้งรายการ ความยาวประมาณ 10-15 นาที
2. เสนอเป็นเทปประกอบในรายการสารคดี หรือนิตยสารการสัมภาษณ์ที่ใช้แทรกนี้ส่วนใหญ่จะมีความยาวประมาณ 3-5 นาที
3. รายการสนทนา ( The Conversation ) รายการสนทนา เป็นรายการประเภทเดียวกับรายการสัมภาษณ์ เพียงแต่ผู้ดำเนินรายการไม่ใช้ผู้ตั้งคำถามอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นผู้แสดงความคิดเห็น และทำหน้าที่ถามตอบไปพร้อม ๆ กับผู้ร่วมรายการ นอกจากนั้นยังต้องทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ฟังโดยตรงด้วย เปรียบเสมือนเป็นตัวเชื่อมการสนทนาระหว่างผู้ฟังและผู้ร่วมรายการ ความยาวรายการสนทนาควรจะอยู่ในระหว่าง 5-10 นาที่
ข้อควรระวังในการสนทนา
1. หลีกเลี่ยงข้อโต้แย้ง มิฉนั้นจะกลายเป็นการโต้วาทีหรืออภิปราย
2. หลีกเลี่ยงรายละเอียดที่ไม่สำคัญ และคำที่ฟังเข้าใจยาก
3. พูดตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ควรพูดให้แจ่มแจ้งเข้าใจได้ทันที
4. หารมีตัวเลขควรใช้เลขถ้วน ๆ หรือโดยประมาณ
4. รายการอภิปราย ( Panel Discussion ) เป็นรายการพูดคุยกับผู้ฟังทางอ้อม ผู้ฟังจะได้รับฟังความคิดเป็นจากผู้ร่วมอภิปรายแตกต่างกันไป ซึ่งในขณะผู้ร่วมอภิปรายอาจจะมี 3-4 คน และผู้ดำเนินการอภิปราายอีกหนึ่งคน หัวใจสำคัญของการอภิปรายนั้นคือ ความขัดแย้งของผู้ร่วมอภิปรายความคิดเห็นแกต่างกัน อาจจะเริ่มจากการสนทนาตามปกติ ไปสู่การอภิปรายอย่างเผ็ดร้อน เป็นการจูงใจให้อยากฟัง ความยาวของายการอภิปราย ไม่ควรเกิน 15 - 20 นาที
5. รายการข่าววิทยุ ( Broadcast News) ข่าววิทยุ คือ เหตุการณ์ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นใหม่ และเป็นที่สนใจของผู้ฟังเรื่องราว และเหตุการณ์ขึ้นควรเสนอความอยากรู้อยากเห็นของผู้ฟัง เป็นเหตุการณ์ที่ดึงดูดความสนใจ เป็นการบอกผู้ฟังถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งค้องมีความเที่ยงตรงเป็นข้อเท็จจริง และใหม่เสมอ ข่าววิทยุ ยังเป็นข่าวที่มีความรวดเร็ว และเสนอได้ตลอดทั้งวัน เป็นการเสนอเหตุการณ์โดยตรงแก่ผู้ฟังและยังเสนอเฉพาะส่วนสำคัญของข่าว หัวข้อข่าวสำคัญ และเสนอซ้ำได้ตลอดทั้งวัน
ประเภทของข่าว
เมื่อพิจารณาเนื้อหาและการเสนอข่าวอาจแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. ข่าวตรง (Straight News) เป็นการรายงานเหตุการณ์ตรงตามที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวประจำวัน ข่าวต่างประเทศ ข่าวกีฬา
2. วิจารณ์ข่าว ( News Commentary ) นอกจากรายงานข่าวแบบให้ข่าวสารแล้วยังมีการเสนอความคิดประกอบไปด้วย
3. วิเคราะห์ข่าว (News Analysis ) เป็นการให้สาระเบื้องหลังข่าว มิได้มุ่งเฉพาะให้ข่าวสารเท่านั้น แต่ต้องให้ความรู้เป็นการศึกษาไปด้วย
6. รายการละครวิทยุ ( Radio Drama ) ละครวิทยุ เป็นการเสนอเรื่องราวโดยใช้การแสดงด้วย คำพูด ดนตรี และเสียงประกอบให้ผู้ฟังสามารถเห็นภาพพจน์ เหตุการณ์ ท่าทาง มีความรู้สึกและอารมณ์คล้อยตามไปกับเรื่องที่เสนอ ละครวิทยุ โดยทั่วไปจะมีความยวประมาณ 15-30 นาที
ข้อแนะนำในการทำลำครวิทยุสำหรับเด็ก
1. ต้องเป็นเรื่องที่เร้าใจ มีเหตุการณ์ตื่นเต้นเกินความจริง
2. อย่าใช้คำพูดหยาบคายหรือผิดหลัดภาษา
3. เลือกเขียนเรื่องดี ๆ ให้ความรู้แทรกในเนื้อเรื่อง ไม่ควรมีริษยากลั่นแกล้งชิงดีชิงเด่นกันจนเกินไป
4. ไม่ควรมีหลายตอยมากเกินไป ความยาวควรเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอายุของผู้ฟัง
5. ตัวละครเอกควรมีวัยเดียวกับเด็กที่รับฟังหรือมากกว่าเล็กน้อย อายุประมาณ 14 ปี เป็นวัยที่เหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
7. รายการเพลง ( Music Programme ) รายการเพลงหรือรายการดนตรี เป็นรายการที่เน้นไปในด้านความบันเทิง ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นที่นิยมมากรายการหนึ่งแต่ผู้จัดสามารถจะทำให้รายการเพลงมีประโยชน์ต่อผู้ฟังได้โดยคำนึงถึง
1. การยกระดับรสนิยมของผู้ฟัง คือ เสนอเพลงหรือดนตรี ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วไป
2. ใช้ความชอบของผู้ฟัง สอดแทรกข้อเตือนใจหรือข้อคิดเห็นในการดำเนินชีวิตเข้าไปในรายการด้วย
ลักษะรายการเพลง
1 เปิดเพลงอย่างเดียวไม่มีการบรรยาย
2 ประกาศชื่อเพลงด้วย
3 บรรยายเรื่องราวของเพลงและศิลปินด้วย
4 บรรยายเรื่องอื่นๆด้วย
หลักการทั่วไปในการจัดรายการเพลง
1 ต้องมีคววามเป็นตัวของตัวเอง
2 ควรพูดให้ชัดเจน นุ่มนวล ออกเสียงถูกต้อง มีลีลาจังหวะจะโคนน่าฟัง และการพูดแทรกเพลงแต่ละเพลงไม่ควรเกิน 1 นาที
3 เปิดเพลงที่มีจังหวะแตกต่างกันไป
4 ไม่ฆ่านักร้อง โดยเอาเพลงของคนใดคนหนึ่งเปิดติดต่อกัน ซำ้ซากจนน่ารำคาญ
5 แผ่นเสียงหรือเทปทที่นำมาเปิดต้องมีคุณภาพ
6 เพลงใหม่หรือเพลงแปลกๆควรมีการแนะนำก่อน
7 ชื่อรายการควรให้เหมาะสม เพลงที่นำมาเสนอ
8 เริ่มรายการควรมีการแนะนำตัว และจบรายการด้วยการกล่าวลา
9 ความยาวของรายการถ้ามีการบรรยายด้วย ไม่ควรต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง
สิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการจัดรายการเพลง
1 ต้องทำเพื่อผู้ฟัง
2 ต้องตั้งใจทำ
3 ต้องไม่ด่าหรือดูถูกผู้ฟัง
4 ต้องไม่ดื่มสุราก่อนหรือขณะทำรายการ
5 ไม่ควรยกตนข่มท่าน หรือทับถมผู้อื่น
6 ควรทำรายการสด
7 ควรโหษณาให้เหมาะสม
8 รายการสารคดี ( Feature Programme or Documentary Programme )
นักจัดรายการวิทยุส่วนใหญ่ยอมรับว่า รายการสารคดีเป็นรายการวิทยุที่แท้จริง เพราะเป็นรายการที่เสนอเนื้อหาโดยใช้เทคนิคทางด้านเสียงหลายประการหรืทุกประการ โดยเน้นไปที่สถานการณ์จริง เสียงจรืงสะท้อนประสบการณ์จริงที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น รายการสารคดี เป็นรูปแบบรายการวิทยุที่เป็นประโยชนืและน่าสนใจมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ประเด็นที่สำคัยที่ทำให้รายการสารคดีแตกต่างจากรายการอื่นๆ คือ รายการสารคดีมีจุดมุ่งหมายเน้นเฉาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง หรืมีเพียงเรื่องเดียว
ประเภทของรายการสารคดี
1 สารคดีทั่วไป ( General Feature )
2 สารคดีเนื่องในโอกาศพิเศษ ( Speacial Occasion Feature )
3 สารคดีเชิงวิเคราะห์ ( Documentary )
4 สารคดีเชิงข่าว ( News Documentary )
5 สารคดีท่องเที่ยว ( Touring Feature )
การเตรียมงานในการจัดรายการสารคดี
1 เรื่องที่จะทำ
2 พิจารณาในกลุ่มผู้ฟัง
3 กำหนดหัวข้อเรื่อง
4 กำหนดแนวหรือแกนของเรื่อง
5 กำหนดเนื้อหาโดยแยกเป็นประเด็นออกมาให้เห็นโดยชัดเจน
6 กำหนดชื่อเรื่องที่น่าสนใจ
9 รายการนิตยสารทางอากาส ( Magazine Programme)
รายการนิตยสารทางอากาศ เป็นรายการที่ผสมผสานเรื่องหลายๆเรื่องเข้าด้วยกัน จากผุ้นำเสนอหลายคน และมีวิธีการเสนอเรื่องที่ใช้กลวิธีทางเทคนิคต่างๆ เช่นเดียวกับรายการสารคคดี แต่แตกต่างในเรื่องของเนื้อหามีหลายเรื่องไม่เจาะลึกเฉาะเรื่องเหมือนกับรายการสารคดีนิตยสารทางอากาศมุ่งให้ความรู้แก่ผู้ฟังเช่นเดียวกับรายการสารคดี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพื้นๆ ไม่ยากนักฟังเล่นเพลินๆ เทียบได้กับหนังสือนิตยสารทั่วไป ความยาวของรายการ ประมาณ 15 ถึง 20 นาที
ประเภทของรายการนิตยสารทางอากาศ
1 แบ่งดยยึดผู้ฟังเป็นหลัก ไม่ว่าเนื้อหาและวิธีเสนอ รายการจะเป็นอย่างไรจำเป็นต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟังเป็นหลัก เช่นรายการนิตยสารแม่บ้าน
2 แบ่งโดยยึดเนื้อหาเป้นหลัก เช่น นิตยสารกีฬา นิตยสารการเกาตร
วิทยุประกอบการเรียนการสอน หือ วิทยุโรงเรียน
ื วิทยุ นับว่าเป็นสื่อที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากประการหนึ่ง ที่สามารถช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียนมากขึ้น ใหความรู้ได้ถูกกาลเทศะและรวดเร็วเมื่มีเหตุการร์ใหม่ๆเกิดขึ้น
รุปแบบของรายการวิทยุโรงเรียน
1 แบบพูดหรือบรรยายล้วน เป็นรายกรที่มีแต่การบรรยายล้วน ตลอดรายการตั้งแต่ต้นจนจบ
2 แบบสัมภาษณ์ เป็นรูปแบบที่น่าสนใจ เพราะมีความหลากหลายสมจริง ข้อมูลที่ได้ฟังเป็นข้อมูลจากแหลลล่งโดยตรง
3 แบบอภิปรายเป็นคณะหรือโต๊กลม เป็นแบบที่เปิดโอกาศให้มีก่าแสดงความคิดเห็นโต้แย้งกัน
4 แบบบันทึกจากเหตุการณ์ เป็นรายการที่ถ่ายทอดเสียงหรืบันทึกจากเหตุการณ์จริงๆ ทำให้นักเรียนสนใจ
5 แบบแข่งขันตอบปัญหา เป้นแบบที่สร้างความสนใจและตื่นเต้น ทั้งนักเรียนที่ฟังรายการและผุ้ตอบปัยหา รายการนี้จะได้ผลดีต่อเมื่อปัญหาที่มีคุณค่าไม่ยากหรือง่ายเกินไป
6 แบบแถลงปัญหาหรือโต้วาที เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิด และมีเหตุผล
7 แบบลคร เหมาะสำหรับใช้ในการสอนได้หลายวิชา สามารถถ่ายทอดเนื้อหาความและความรู้สึก อารมณ์ ได้เป็นอย่างดี
8 แบบสาธิต เป็นรายการที่ครู และนักเรียยนมีส่วนร่วม ขณะที่กำลังรับฟังด้วยส่วนมากจะใช้การพุดบรรยายเป็นพื้น มีการหยุดเป็นระยะๆ เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมบางทีก็ละคร หรือการสนทนาแทรกบ้าง
9 แบบดนตรี ส่วนมากมักใช้ให้เกิดความเพลิดเพลิน ฝึกหัดขับร้อง แสดงลีลาการเต้นไปตามจังหวะ เพื่อให้เกิดความรู้สึกตามเนื้อหาของเรื่องโดยเฉพาะเรื่องนำมาทำละคร
10 แบบห้องเรียนจำลอง เป็การถ่ายทอดเสียวจากห้องเรียน ซึ่งมีครูนักเรียนสอนตามปกตินั่นเอง รายการแบบนี้มีประโยชน์ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ครู และผู้ปกครองด้วย
ข้อแนะนำในการผลิตบทเรียนวิทยุวิชาต่างๆ

1 วิชาภาษาต่างประเทศ การเรียนภาษาเป็นการฝึกทักษะในการพูด การฟัง ฉะนั้นการรให้นักเรียนได้มีโอกาสฟัง พูดซ้ำๆ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การสอนภาษาทางวิทยุจะได้ผลดี บทเรียนต้องมีหลายๆรส เพราะการเรียนภาษาเป็นเรื่องของความพากเพียรพยายามเป็นเวลานานๆ
2 วิชาภูมิศาสตร์ อาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
2.1 แบบบรรยาย โดยให้คนที่เคยอยู่ในประหรือท้องถิ่นมาบรรยาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนผู้บรรยายได้ทุกคราว
2.2 แบบละคร อาจจะใช้เป็นตอนสั้นๆแทรกใในบทบรรยายช่วยให้เด็กเห็นจริง และตื่นเต้นกับคำบรรยายมากขึ้น
3 วิชาวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่ต้องเรียนปฎิบัติทดลอง การทำแบบสนทนา แบบละคร และการบันทึกเสียงจากสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เด็กเรียน จะช่วยให้เด้กเห็นภาพและจดจำได้ดียิ่งขึ้น
4 วิชาสังคมศึกษา วิทยุโรงเรียนสามารถช่วยในการสอนวิชาสังคมศึกษาได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทำเป็นชุดๆ และอาจจะนำข่าวเหตุบ้านการเมืองในปัจจุบันนมาช่ววยในการสอน
5 วิชาขับร้องดนตรี การจัดรายการจะต้องคำนึงถึงวัยของเด็กด้วย และอาจจะเปลี่ยนรูปแบบต่างๆกันไป เพื้ฃ่อให้บทเรียนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


ข้อมูลจาก
บุญเกื้อ ควรหาเวช คู่มือผลิตวิทยุกระจายเสียง พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ โอเดียนสโตร์ 2538
วาสนา ชาวหา สื่อการเรียนการสอน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ โอเดียนสโตนร์ 2533