Microcomputer

โดย สุกัญญา ขาววัฒน์  - 07 ส.ค. 2544


<ม่วง>ไมโครคอมพิวเตอร์คืออะไร ( WHAT IS A MICROCOMPUTER )
      ไมโครคอมพิวเตอร์คือเครื่องมือที่ผลิตผลซึ่งมีความหมายที่ใช้แก้ปัญหาให้ได้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถ และรูปร่างทั่วๆ ไปเหมือนๆ กับคอมพิวเตอร์ขนาดอื่นๆ นั่นเอง ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีส่วนประกอบพื้นฐานที่สามารถปฏิบัติหน้าที่พื้นฐานได้เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ผู้ใช้จะเป็นผู้เลือกขนาดและความสามารถที่แตกต่างกันของคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์ของการใช้งาน
      คอมพิวเตอร์ไม่ว่าขนาดใดก็ตามจะประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานเหมือนกันและมีขีดความสามารถพื้นฐานเหมือนกัน
      ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบไมโครโปรเซสเซอร์สมบูรณ์แบบในตัวเองระบบหนึ่ง เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ยุคปี 1970 ( CPU ) ในบางกรณี เราจะเรียกระบบนี้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
      เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ นั้น จะสามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้เพียงครั้งละ 1 ราย ในขณะที่ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันได้รับการออกแบบให้รองรัผู้ใช้หลายรายพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยกำหนดให้มีความสามารถในการทำงานเหมือนกับเครื่องขนาดใหญ่ ในปัจจุบัน IBM , Compaq และ Dell จะเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
1. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ
1.1) ระบบกระเป๋าหิ้ว ( Portable ) ถูกออกแบบเพื่อให้มีความกระทัดรัด และสามารถปิดได้เหมือนกับกระเป๋าเอกสนาร ซึ่งบางครั้งเรียกเครื่องลักษณะนี้ว่า เป็นระบบวางบนตัก ( laptop ) นอกจากนี้ยังมีเครื่องที่เรียกว่า เครื่องแบบสมุดบันทึก ( notebook ) เพราะเล็กและเบา แต่มีราคาแพงกว่าแบบวางบนตัก ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วรายสำคัญ ได้แก่ Toshiba , Compaq , Zeos , Apple และ Dell

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระบบกระเป๋าหิ้ว นอกจากจะมีแบบ laptop และ notebook แล้วยังมีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ สวม ได้ โดยผู้ใช้จะสวมแถบคาดไว้ที่ตา พร้อมกับมีไมโครโฟนรับเสียงไว้ และมีกรอบแว่นตาขนาดเล็กที่หน้านัยตาข้างหนึ่ง ผู้สวมเครื่องนี้ก็จะสามารถเห็นจอภาพข้อมูล โดยการมองที่กรอบแว่นตานี้ในบิษัทแห่งหนึ่งได้ให้พนักงานออกสินค้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบสวมนี้ พนักงานก็สามารถอ่านตัวเลขของสินค้าที่สั่งซื้อลงในไมโครโฟนและเครื่องประมวลเสียงที่มีอยู่ก็จะดำเนินการรับข้อมูล แล้วจอภาพก็จะปรากฏรายการสินค้าที่มีการสั่งซื้อ
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบกระเป๋าหิ้วอีกลักษณะหนึ่ง คือ บัตรอัจฉริยะ ( Smart Card ) จะมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต โดยด้านหน้าจะมีตัวอักษรนูน และด้านหลังมีแถบแม่เหล็ก ซึ่งด้านหน้าของบัตรจะมี memory chip ไมโครโพรเซสเซอร์ และวงจรคอมพิวเตอร์ฝังอยู่ เช่น ใช้ในการจ่ายค่าโดยสาร ซึ่งรถโดยสารจะติดตั้งเครื่องอ่านค่าบัตรอัจฉริยะที่สามารถบอกถึงลักษณะเฉพาะของผู้โดยสาร และวัน – เวลาเดินทาง ส่วนค่าโดนสารที่เกิดขึ้นจะถูกหักออกจาก “ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ “ เมื่อถึงเวลาเย็นของแต่ละวัน ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ก็จะถ่ายทอดเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายพื้นที่นั้น เพื่อรวบรวมและประเมินผลต่อไป

1.2) ระบบตั้งโต๊ะ ( desk top ) จะเป็นแบบที่คุ้นตามาก คือ จะตั้งอยู่บนโต๊ะ
      ทำงาน โดยส่วนมากแล้ว ระบบเครื่องตั้งโต๊ะ จะได้รับการออกแบบมาเพื่อผู้ใช้
      คนเดียว ส่วนระบบเครื่องตั้งโต๊ะที่ใช้ได้กับผู้ใช้หลายคน บางครั้ง
      เราจะเรียกว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับซุปเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่ง
จะใช้ระบบปฏิบัติการ UNIX       หรือ OS/2 ซึ่งระบบนี้จะยอมให้ผู้ใช้ตั้ง
แต่ 2 คน ขึ้นไป ที่ใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระบบตั้งโต๊ะ คนละเครื่อง
ต่ออยู่กับแม่ข่ายทำงานในระบบได้เวลาพร้อมกัน ระบบแม่ข่ายแบบนี้ต้อง
อาศัยชิ้นส่วนไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีความสามารถสูง เช่น Intel 80586
นอกจากนี้ก็ยังมีไมโครโพรเซสเซอร์ของ Motorola 68020 68030 และ
68040
      เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีผู้ใช้แพร่หลายชั้นนำในปัจจุบันนี้ คือ ตระกูล IBM p/s 2 , Compaq และ Dell รุ่นต่างๆและตระกูล Apple Macintosh

2. การขยายความสามารถระบบเครื่องที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์
ความสามารถของเครื่องไมโครโพรเซสเซอร์ ที่มีอยู่จะขยายให้เพิ่มขึ้นได้ โดยการติดตั้งแผงวงจรเสริม ( บอร์ด ) โดยบอร์ดเสริมนี้มีลักษณะเป็นแผงวงจรของฮาร์ดแวร์ ซึ่งเสียบลงในแถบช่องว่าง ( Expansion Slot ) ในฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งติดตั้งแผงวงจรหลักอยู่ ( Mother Board ) แผงวงจรเสริมนี้จะประกอบด้วยวงจรสำเร็จรูปที่จะทำหน้าที่ประสานงานแปลงสัญญาณให้กับอุปกรณ์ประกอบต่างๆ แต่ในยุคปัจจุบันระบบไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้ Main Board มีวงจรพิเศษต่างๆ บรรจุอยู่เกือบพร้อมมูล
2.1) ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ( Midrange Systems )
คือเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในงานวิศวกรรม และงานวิทยาศาสตร์ ปัจจุบัน เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาขนาดเล็กต่างมากมายเพราะมีราคาต่ำกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Mainframe เครื่องมินิคอมพิวเตอร์มักเป็นศูนย์กลางของการทำงานที่มีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นลูกข่าย
2.2) เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ( Mainframe )
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก เครื่องเมนเฟรมจะมีสถานีงาน ( Workstations ) หรือ เครื่องปลายทางจำนวนมากที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Terminal unit และมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาเดียวกันเป็นจำนวนมากด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักจะใช้ในกิจการใหญ่ๆ ที่ต้องการประมวลผลในระบบรวมการด้วยความเร็วสูง
2.3) ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Super Computer )
ในองค์การบางแห่งจำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูงเป็นพิเศษหรือมีความเที่ยงตรงเป็นพิเศษ ดังนั้นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการนี้ได้ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มาช่วย โดยมักจะเป็นเครื่องที่มีราคาแพงมาก กรมอุตุนิยมวิทยาก็ต้องมีความจำเป็นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดนี้ เพื่อทำการพยากรณ์อากาศในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยโดยใช้ตัวแปรหลายๆ ประเด็นจากข้อมูลสภาวะอากาศจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศ

ที่มา
- หนังสือ เรียนรู้การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ของ ร.ศ. วัชรินทร์ วิทยกุล
- หนังสือ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ ของ ยีน ภู่วรวรรณ
- หนังสือ ทฤษฎีและการใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ ของ ไพรัช รัชยพงษ์
- หนังสือ ไมโครคอมพิวเตอร์ขั้นมูลฐาน ของ ประทีป บัญญัตินพรัตน์